ระบบการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัวโดยชุมชนยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก : บทเรียนรู้จากชุมชนวัดโพธิ์เรียง บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กรุณา ใจใส

คำสำคัญ:

การคุ้มครองทางสังคม, การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว, การยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยถอดบทเรียนโครงการพัฒนาและเสริมศักยภาพระบบการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัวโดยชุมชนยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก สนับสนุนโดยมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและถอดบทเรียนเกี่ยวกับ (1) การพัฒนาระบบการให้บริการของศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว (2) การพัฒนากลไกทีมสหวิชาชีพในการปฏิบัติงานคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัวร่วมกับชุมชนนำร่อง (3) การปฏิบัติงานขยายเครือข่ายชุมชนคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัวสู่การเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยทางสังคมหรือพื้นที่คุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัวโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ในการพัฒนาระบบการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัวโดยชุมชนยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กของชุมชนวัดโพธิ์เรียงนั้น ได้ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติของแกนนำชุมชนอีกทั้งยังส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานของชุมชน ในการพัฒนาระบบการทำงานให้สามารถช่วยเหลือผู้รับผลกระทบได้ ซึ่งในการทำงานได้มีการร่วมมือกับทีมสหวิชาชีพ เครือข่ายการทำงานจากภายนอกเพื่อดำเนินการช่วยเหลืออย่างมีมาตรฐาน พร้อมทั้งได้ทำงานพัฒนาตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่ม ชุมชนและขยายเครือข่ายสู่ชุมชนข้างเคียงเพื่อผลักดันพื้นที่ปฏิบัติการให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางสังคม (Social Protection)

References

กิตวิภา สุวรรณรัตน์. (2545). การสร้างพลังอำนาจในตนเองของสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัว: ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2563). รายงานการศึกษาการใช้ชุมชนเป็นฐานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีและบุคคลในครอบครัว: ต่อยอดฐานเดิมและเสริมฐานใหม่. แหล่งที่มา: dataset/06b51b02-7d70-490e-ac42-e63243060f aa/resource/16f88f11-aed7-4705-836e-910ee1d7e974/download/r6.1.29-cba-report.pdf.

ชลาศัย กันมินทร์. (2562). ความรุนแรงในครอบครัว: ปัญหาและแนวทางป้องกัน. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562. เมษายน 2562. แหล่งที่มา: ps://rsucon.rsu.ac.th

/proceedings.

ภัชลดา พรุเพชรแก้ว. (2559). แกนนำชุมชนในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อลดความรุนแรงในครอบครัว: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่ง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานกองทุนสนับสนนุ การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). คู่มือ การสร้างและพัฒนาพื้นที่ปลอดภัยทางสังคมโดยชุมชน กรณีชุมชนชนบท ชุมชนเมือง และชุมชนแรงงานเขตอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1, พฤศจิกายน 2563.

ยงยุทธ แสนประสิทธิ์. (2564). รูปแบบการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์), กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะกรรมการควบคุม: อาจารย์ ดร.พรรณี บุญประกอบ ศาสตราจารย์ นพ.รณชัย คงสกนธ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังศินันท์ อินทรกำแหง.

สุภัทร แสงประดับ. (2559). การดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 : ศึกษาเฉพาะกรณีปัญหาการดำเนินการในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) เล่มที่ 1 ปีที่ 1 (มกราคม -มิถุนายน 2559)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29