วิถีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานหญิง

ผู้แต่ง

  • ปุณิกา อภิรักษ์ไกรศรี

คำสำคัญ:

แรงงานหญิง, วิถีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องวิถีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานหญิง
ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระบบคิด ความเชื่อ ค่านิยม และวิถีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานหญิง ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างวิถีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานหญิงกับผลกระทบที่มีต่อวิถีชีวิตของแรงงานหญิง โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า (1) ระบบคิด ความเชื่อ ค่านิยมสะท้อนปัจจัยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อพฤติกรรมที่มีความต่อเนื่องและเพิ่มระดับพฤติกรรมให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ได้แก่ (1.1) ประสบการณ์การดื่มครั้งแรก (1.2) กลุ่มเพื่อน (1.3) วาระและโอกาสในการดื่ม (1.4) สถานการณ์ปัญหาชีวิตของแรงงานหญิง
(2) กระบวนการหล่อหลอมพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานหญิง 2.1 กระบวนการผลิตซ้ำตามวิถีชีวิตเฉพาะของแรงงานหญิง 2.2 กระบวนการผลิตซ้ำบนฐานโครงสร้างทางสังคม ที่แวดล้อมด้วย “วัฒนธรรมสังคมนิยมการดื่ม” และ (3) วิถีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานหญิง พบกราฟชีวิต 2 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่ 1 วิถีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานหญิงที่มีแนวโน้มระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ค่อนข้างถาวร ลักษณะที่ 2 วิถีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานหญิงที่มีแนวโน้มของระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กึ่งถาวร และ ชั่วคราว ข้อท้าทายของการวิจัยครั้งนี้ คือ “การตัดวงจรการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานหญิง และการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงานหญิงควรจะมีทิศทางอย่างไร ?”

References

กมลา วัฒนพร. (2550). สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร.

โครงการสุราสากล. “บทความแปลพิเศษเรื่อง โอกาสสุดท้ายในการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.” . กันยายน 2549.

จีรนันท์ แกล้วกล้า. (2548) การทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์และผลกระทบของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพมหานคร.

บัณฑิต ไพศาล และคณะ. (ม.ม.ป.). ความจำเป็น หลักการและแนวทางการควบคุมการบริโภคและปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพมหานคร.

พระไพศาล วิสาโล. (2537) ประวัติศาสตร์การบริโภคสุราในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดีไซร์ จำกัด.

มูลนิธิเพื่อนหญิง. (2548). พัฒนาการเครือข่ายชุมชนลดเหล้าลดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

มูลนิธิเพื่อนหญิง. (ม.ป.ป.). รายงานพัฒนาการเครือข่ายบ้านคำกลาง ต.โนนหนามแท่ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ ศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กอำนาจเจริญ โครงการลดเหล้า:ลดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.). (2550). สถานภาพการบริโภคสุรา พ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร

สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา. “คดีอาญาที่มีผู้เสียหายเป็นผู้หญิงและเด็ก

ปี 2543-2545.” <http://www.gdrif.org/vawdata/vaw/01.htm>. มกราคม 2550.

สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา. “ภัยทางเพศจากรายงานของหนังสือพิมพ์รายวัน 5 ฉบับ ปี 2543-2547.” <http://www.gdrif.org/vawdata/vaw/04.htm>. มกราคม 2550.

สมบัติ ตรีประเสรฐสุข. (ม.ม.ป). สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา : ผลกระทบต่อสุขภาพและการดูแลรักษา. กรุงเทพมหานคร,

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). “คนไทยดื่มหนักแค่ไหน.” . กันยายน 2549.

สุรศักดิ์ ไชยสงค์. (2553). การประชุมวิชาการสุราระดับชาติครั้งที่ 6 : สุราในโลกเสรี. นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด.

สุวรา แก้วนุ้ย และคณะ. (2553). เคล็ดไม่ลับ : การจัดทำมาตรการลด ละ เลิกเหล้าในชุมชน. กรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29