การส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในมุมมองของคนรุ่นใหม่ในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ฉัตร รสสุธรรม

คำสำคัญ:

เจตคติ, ความเสมอภาคหญิงชาย, คนรุ่นใหม่ในสังคมไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องความเสมอภาคเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงและถูกให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางความเจริญของยุคโลกาภิวัฒน์ในสังคมปัจจุบัน การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสมอภาคของหญิงชายผ่านความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ในมิติของการทำงานในบ้าน การทำงานนอกบ้าน และการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของผู้หญิง โดยเก็บข้อมูลในกลุ่มอายุ 20-40 ปี ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้ตัวอย่างรวมจำนวน 1,200 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ได้แก่ t-test และ one way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า เจตคติของคนรุ่นใหม่เปิดกว้างในการยอมรับการทำงานนอกบ้านของผู้หญิง ส่วนการทำงานในบ้านไม่จำเป็นต้องเป็นหน้าที่ของผู้หญิงเสมอไป รวมถึงค่านิยมในเรื่องเพศมีผลต่อการทำงานนอกบ้านและการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของผู้หญิง ส่วนแนวทางในการปรับเจตคติความเสมอภาคระหว่างเพศ ควรเริ่มจากการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว การเรียนรู้ในโรงเรียน ชุมชน การทำหน้าที่ของสื่อที่มีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ การประสานความร่วมมือขององค์กรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรด้านความเสมอภาคในทุกระดับของการศึกษา การจัดตั้งองค์กรเฉพาะด้านเพื่อรณรงค์และจัดกิจกรรม เป็นความท้าทายที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันในการพัฒนาและสรรสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในสังคมไทย

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี พ.ศ.2560-2564. (พิมพ์ครั้งที่ 1)

กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว.

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2546). การวิจัยเชิงคุณภาพในงานสวัสดิการสังคม: แนวคิดและวิธีวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โชติมา แก้วทอง. (2550). โอกาสการก้าวสู่การเป็นผู้บริหารสตรีบนบริบทระดับปัจเจก ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและและองค์กร. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บ้านจอมยุทธ. (10 พฤศจิกายน 2556). ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมไทย.เข้าถึงข้อมูล จาก https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/sexual_value/01.html

ปราณี วงษ์เทศ. (2543). เพศสภาวะในสุวรรณภูมิ. กรุงเทพมหานคร: สวีริยาสาสน์.

ระพีพรรณ คำหอม. (2549). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2555). รายงานผลการสำรวจเจตคติของประชาชนด้านความเสมอภาพหญิงชายฉบับสมบูรณ์. เข้าถึงข้อมูลจากhttps://www.gender.go.th/research/rsdoc/att/content_attitude_2555.pdf.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2550). สตรีในสามทศวรรษของเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร:

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 3 ทศวรรษ ของการเปลี่ยนแปลงตลาดแรงงานไทย. เข้าถึงข้อมูลจาก https://tdri.or.th/2018/03/3decade-thai-labour-market/ (5 มีนาคม 2561).

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2546). อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ: ผลการประชุมและข้อเสนอแนะจากการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ สมัยที่ 34.

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2550). แผนพัฒนาสตรีฉบับที่ 10. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และ โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา. (2559) มาตรการและตัวชี้วัด ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย. เข้าถึงข้อมูลจาก https://www.gendwe.go.th

/publiccation/book/Standards%20and%20Indicators.pdf.

SDG News. (12 มีนาคม 2564). จำนวนผู้หญิง = ผู้ชายในที่ทำงานยังไม่เพียงพอ: สำรวจ 6 ข้อที่จะทำให้เกิด ความเท่าเทียมทางเพศและความหลากหลายในที่ทำงาน. เข้าถึงข้อมูลจาก https://www.sdgmove.com/2021/03/126-points-building-gender-equality-at-workplace/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29