การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานช่วยเหลือคุ้มครองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงตนของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ต่อเจ้าหน้าที่ ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • อารีรัตน์ อดิศัยเดชรินทร์

คำสำคัญ:

การค้ามนุษย์, ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์, การแสดงตนของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานช่วยเหลือคุ้มครองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงตนของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัด   สุราษฎร์ธานี งานวิจัยสนับสนุนโดยองค์กร WINROCK INTERNATIONAL มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนจากผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานช่วยเหลือคุ้มครองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงตนของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ต่อเจ้าหน้าที่ ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มีระเบียบวิธีการวิจัย คือ 1) การศึกษาจากข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยเชิญผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาร่วมสนทนา จำนวน 30 คน เพื่อถอดบทเรียนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานช่วยเหลือคุ้มครองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงตนของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ข้อค้นพบจากการวิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะต่อ แนวทางการพัฒนางานคุ้มครองสวัสดิภาพงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 5 แนวทาง คือ (1) แนวทางการนิยามคำว่า “การค้ามนุษย์ด้านแรงงานที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี” (2) แนวทางการปฏิบัติการเพื่อให้เกิดการ “แสดงตนว่า ตกเป็นเหยื่อ” (3) แนวทางการพัฒนาทีมสหวิชาชีพและเครือข่ายในพื้นที่ (4) แนวทางการปฏิบัติการเพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพ การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในพื้นที่ (5) แนวทางการพัฒนานโยบายและมาตรการเฉพาะสำหรับปฏิบัติการเชิงพื้นที่ เพื่อนำไปเป็นแนวทางการพัฒนางานคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ต่อไปได้

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กองต่อต้านการค้ามนุษย์. (2562). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ปี 2561. แหล่งที่มา: https://www.e-aht.com/. สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ส.ค. 2562.

จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร .(2559). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้า

มนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน .กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ 84. ความมั่นคงของมนุษย์: การค้ามนุษย์ในไทย. โครงการความมั่นคงศึกษาสถาบันการข่าวกรอง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ,พิมพ์ครั้งแรก. ตุลาคม 2553.

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา. รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ และปัญหาด้านนโยบาย กฎหมาย ในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2559–2560. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน Human Rights and Development Foundation (HRDF) Anti–Labour Trafflcking Project (ALT).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29