พุทธสันติวิธีเพื่อแก้ไขปัญหาการสื่อสารระหว่างวัย

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ริเริ่ม

คำสำคัญ:

พุทธสันติวิธี, การสื่อสาร, เด็กวัยรุ่น

บทคัดย่อ

ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก (WHO) วัยรุ่น หมายถึงบุคคลที่มีอายุ 10 ถึง 19 ปีบริบูรณ์ เยาวชนหมายถึง บุคคลที่มีอายุ 15 ถึง 24 ปี จึงครอบคลุมอายุได้กว้างจากช่วงวัยก่อนมัธยมศึกษา
จนถึงระดับอุดมศึกษา วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงและความซับซ้อนในหลายด้าน วิธีสื่อสารที่ผู้ปกครอง เคยใช้กับเด็กวัยรุ่น เมื่อยังเป็นเด็กอาจไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะหากสื่อสารไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์และการใช้ชีวิตในช่วงวัยรุ่นของลูกตามมา เพราะความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมรอบตัว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนมีกระทบต่อตัววัยรุ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมวัยรุ่นจึงเป็นช่วงวัยที่มีความสร้างสรรค์และดุดันได้ในเวลาเดียวกันสาเหตุของปัญหามาจากสื่อสารระหว่างผู้ปกครองกับเด็กวัยรุ่น ที่เด็กไม่ยอมรับและต้องการ คนที่เข้าใจเขา รับรู้และยอมรับในความเป็นเขาได้ หากผู้ปกครอง ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างตรงไปตรงมา และไม่สามารถทำให้เกิดความเข้าใจกันได้อย่างถูกต้องชัดเจน หรือมีการตีความผิดพลาด ย่อมส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง และมีสัมพันธภาพที่ไม่ดีต่อกัน ดังนั้นการสื่อสาร ที่สามารถทำให้เด็กวัยรุ่นเข้าใจความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ของผู้สื่อสาร และสามารถนำมาซึ่งความรู้สึกดี ๆ อันก่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน โดยใช้หลักดังนี้ 1. แบบเห็นพ้องต้องกัน 2. แบบเปิดเสรีทางความคิด 3. แบบปกป้อง 4. แบบมีอิสระ
ที่สำคัญที่สุดคือจะต้องมีความคิดเห็นถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเพื่อให้เกิดความสุข ความสงบตามหลักพุทธสันติวิธี

References

นภาพร สังข์กระแสร์. (2546). “ผลการเตรียมมารดาเรื่องเพศศึกษาต่อความรู้เจตคติและการสอนเพศศึกษา บุตรสาววัยรุ่นตอนต้น.” วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นวลฉวี ประเสริฐสุข สื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างสุขในครอบครัว Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2558. หน้า 737 – 747.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต. (2542). หมวด ก. : การสื่อสาร.

พระสิริมังคลาจารย์. 2528.มังคลัตถทีปนี ภาคที่ 1. โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย

ปรมะ สตะเวทิน. 2534. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสารหน่วยที่ 1-8 (พิมพ์ครั้งที่ 10 ). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ราชบัณฑิตยสถาน. (2526). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ราตรี พัฒนรังสรรค์. 2542. พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาจิตวิทยา และการแนะแนว. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎจันทรเกษม.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แพร่พิทยาอินเตอร์เนอชั่นแนล.

วิรัช ลภิรัตนกุล. 2546. การประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

Mc Leod, J.M. & O’Keefe, G.J. (1972). Socialization perspective and communication research. In F.G. Kline & P. Tichenor (Eds.), Current perspective in mass communications research (pp.121-168). Beverly Hills : Sage. 3. Epstein, N.B. et al. (1993). The Mc Master Model of Healthy Family Functioning. In Froma Walsh (Eds.) Normal Family Processes (pp.138-160). New York: The Guilford Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-04