พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาล ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

ผู้แต่ง

  • ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์
  • สุมิตรา สิทธิฤทธิ์
  • กิ่งแก้ว แสงแผ้ว
  • สิริรดา พรหมสุนทร
  • เจษฎาภรณ์ แสนตลาด

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, สมาร์ทโฟน, โควิด 19

บทคัดย่อ

  การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนกับผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ศึกษาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาจำนวน 180 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน    

ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการใช้สมาร์ท ด้านการศึกษา ใช้เข้าชั้นเรียน ติดต่อ สื่อสารกับอาจารย์และค้นหาข้อมูล ด้านความบันเทิง/อำนวยความสะดวก ใช้ในการเล่น ไลน์,เฟสบุ๊ค,อินสตาแกรมมากที่สุด ด้านช่วงเวลาใช้ 08.01.-16.00 น. ด้านประโยชน์และโทษใช้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและอาจารย์ เว้นระยะห่างทางสังคมใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานานเกิดความร้อนส่งผลเกิดความวิตกกังวล ไม่มีสมาธิในการเรียนกลัวเกิดอันตรายระดับมาก ผลกระทบด้านการเรียนระดับมากคือ ความเร็ว/เสถียรภาพในการดาวน์โหลดข้อมูลช้า ทำให้เรียนตามเพื่อนไม่ทัน ขาดสมาธิ และด้านสุขภาพระดับปานกลาง ทำให้มีอาการแสบตา ปวดตา ตาพร่ามัว สายตาสั้น และพบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนกับผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)

References

กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). (ออนไลน์) แหล่งที่มาhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.phpสืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564.

ธัญธัช วัภติภูมิประเทศ. (2559). พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์. สุทธิปริทัศน์. 30(95).48-58.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลัง COVID 19 .วิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์. สุทธิปริทัศน์. 30(95).48-58.

พิชชาดา ประสิทธิโชค, ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์, และสราวุฒิ ตรีศรี. (2564). พฤติกรรมการเสพติดสมาร์ทโฟนและรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเสพติดสมาร์ทโฟของเยาวชนเจเนอเรชั่น Z ในเขตกรุงเทพมหานคร. (ออนไลน์)แหล่งที่มาhttps://cads.in.th/cads/media/

upload/1613441962-2. บทความวิจัย.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564.

เมธาวี จำเนียร, และกรกฎ จำเนียร. (2561). ประโยชน์ ปัญหา และแนวทางการแก้ไขการ.สื่อสารออนไลน์ในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพของโรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์. 16 (3). 113-121.

วาสนา ศิลางาม. (2561). อันตรายของการเสพติดสมาร์ทโฟน. วารสาร มฉก.วิชาการ, 22 (43-44), 193-204.

สายสมร เฉลยกิต, จินตนนา อาจสันเที๊ยะ, และมักเดลานา สุภาพร . (2563). ผลกระทบโรคระบาด Covid-19. การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล.วารสารวิจัยสุขภาพ และการพยาบาล. 36 (2). 255-262.

สายธาร สังข์ชาติ และคณะ. (2561). พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนและปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้สมาร์ทโฟนของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา.คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนครราชสีมา.(ออนไลน์) แหล่งที่มา http://202.29.4.209/home/research/public_html/ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด - 19 กับการเรียนการสอนออนไลน์กรณีศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ.วารสารการจัดการปริทัศน์ 22 (2). 203-213.

สุรัตนา เหล่าไชย, ปภาวี รัตนธรรม, และอดิศักดิ์ พละสาร. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของนักศึกษาสาธารณสุขชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2564 จากhttp://research.rmu.ac.th/rdimis//upload/fullreport/160700

pdf

เอื้อมทิพย์ ศรีทอง. (2562). พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักศึกษา สาขาสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทพสตรี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 6 (ฉบับพิเศษ).

Cohen J.(1988).Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30 — Updated on 2022-05-01

Versions