ปัจจัยที่มีผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • พระมหาณัฏพจน์ ขนฺติธโร
  • อนุภูมิ โซวเกษม
  • สุรพล สุยะพรหม
  • สวัสดิ์ จิรัฎฐิติกาล

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การเมือง, การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตื่นตัวทางการเมือง 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตื่นตัวทางการเมือง และ 3) ปัญหาและเสนอแนวทางการพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร จำนวน 395 คน เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

  1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อปัจจัยการตื่นตัวทางการเมือง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเรียงตามค่าเฉลี่ยดังนี้ ด้านนโยบาย ด้านสื่อสารมวลชน อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการหาเสียงของผู้สมัคร ด้านพรรคการเมือง และด้านคุณลักษณะของผู้สมัคร อยู่ในระดับปานกลาง
  2. ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยการตื่นตัวทางการเมือง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มี เพศ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
  3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร ปัญหาประชาชนเบื่อหน่ายการเมือง ดังนั้น ผู้สมัครแสดงวิสัยทัศน์ให้ประชาชนเห็นถึงความรู้ความสามารถ ในการจะแก้ไขปัญหา การหาเสียงของผู้สมัคร นักการเมืองต้องเปลี่ยนวิธีการ สร้างจุดเด่นให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ พรรคการเมืองควรเห็นประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง ด้านนโยบายเน้นหนักการแก้ปัญหาเรื่องของเศรษฐกิจ ด้านสื่อมวลชนควรเป็นกลางสร้างความเข้าใจให้ข้อมูลที่เป็นจริง

References

ข้อมูลผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 2562, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล : https://www.ect.go.th/ nakhonratchasima/main.php?filename=index [15 เมษายน 2562].

ชุติมา ศิริเมธาวี. (2560). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี: ศึกษาในห้วงเวลา ปี พ.ศ. 2560”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.

ณัฐกาญจน์ เข็มนาค. (2563). “พฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 ในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ดาวเรือง นาคสวัสดิ์. (2559). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัยในห้วงเวลา ปี พ.ศ.2559”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.

ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2561). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.

พระจักรพงษ์ อนุตฺตโร (วงษ์โพธิ์). (2563). “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจริยธรรมของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย. (2559). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก : ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2559”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.

ยงยุทธ พงษ์ศรี. (2561). “ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี : ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2562”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.

สมชาย วุฒิพิมลวิทยา. (2558). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง นายกเทศมนตรี เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี : ศึกษาในห้วงเวลา ปี 2558”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30