การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทยตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560

ผู้แต่ง

  • ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา

คำสำคัญ:

การกำหนดนโยบาย, พรรคการเมืองไทย, รัฐธรรมนูญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทย 2) ศึกษากลไกการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทย 3) นำเสนอการพัฒนากลไกการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 11 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทยมีเหตุปัจจัยที่มีความซับซ้อน และหลากหลายกระจายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะต่อเหตุผลที่อิงอยู่กับขบวนการทางสังคม การเมืองภายนอก มากกว่าอิงอยู่กับผู้นำและแกนนำภายในพรรค 2) กลไกการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทยนั้นพรรคการเมืองต้องมีความจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
3) การพัฒนากลไกการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทยโดยการนำหลักอิทธิบาท 4 มาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนั้นชี้ให้เห็นว่าสาระสำคัญของการพัฒนากลไกการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทยนั้น เริ่มจากการการก่อรูปนโยบายจากอุดมการณ์พรรคการเมือง นำไปสู่กระบวนการในการกำหนดนโยบายทางการเมืองภายใต้กรอบที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ต่อมาเป็นการตัดสินใจนโยบาย แนวคิดและแนวทางการทำงานกับนโยบายของพรรค สอดคล้องและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

References

เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง. (2563). พรรคการเมือง. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2563,จากhttp://wiki.kpi.ac.th/

ndex.php?title.

คมสันต์ บัวติ๊บ และจันทนา สุทธิจารี. (2561). การเมืองในการกำหนดนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษานโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. 9 (1), 1-28.

ชงค์ชาญ สุวรรณมณี. (2563). พรรคการเมืองกับกฎหมายพรรคการเมืองของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563, จาก http://www.parliament.go.th/library.

นฐินันต์ ศรีลาศักดิ์. (2557). การบริหารจัดการพรรคการเมืองไทยสู่ความเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 4 (3), 260.

พระครูอุทัยสุตกิจ, สุทธนู ศรีไสย์, และจินต์ วิภาตะกลัศ. (2558). ความสำเร็จของการบริหารงานตามหลักอิทธิบาทสี่ของพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสมาคมนักวิจัย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 20 (2), 161-171.

พระมหาบรรจง ติสรโณ (ศรีสุข). (2561) ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรม 4 ในการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนปริยัติคุณรสวิทยา อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.

(6 เมษายน 2560).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-18