ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพผ่านครอบครัวกรณีศึกษาต่อสมรรถนะวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • ผุสดี ก่อเจดีย์ Article author
  • ประกริต รัชวัตร
  • จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ

คำสำคัญ:

คำสำคัญ:  สมรรถนะสหวิชาชีพ; การจัดการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ; นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

        การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพในนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี และนักศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตศูนย์แพทย์โรงพยาบาลสระบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเพื่อเปรียบเทียบระดับสมรรถนะสหวิชาชีพ ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี และนักศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตศูนย์แพทย์โรงพยาบาลสระบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 38 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสมรรถนะสหวิชาชีพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผ่านผู้ทรงวุฒิ 3 ท่านและความเชื่อมั่น โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ.85 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง1 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบที

         ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีระดับสมรรถนะสหวิชาชีพหลังการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิชาชีพ ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก และนักศึกษามีระดับสมรรถนะสหวิชาชีพหลังการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิชาชีพสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิชาชีพ แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000

ข้อเสนอแนะ: ควรจัดการเรียนการสอนแบบสหวิชาชีพให้นักศึกษาพยาบาลได้เรียนรู้ในการทำงานร่วมกับสาขาสุขภาพวิชาชีพอื่นๆ เช่น กายภาพ เภสัชกร แพทย์แผนไทย

คำสำคัญ:  สมรรถนะสหวิชาชีพ; การจัดการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ; นักศึกษาพยาบาล

References

ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, ชญานิษฐ์ สีหนาท, ดุสิตา ไชยธรรม. (2563). ผลลัพธ์และผลประโยชน์ของการเรียนการสอนรวมสหวิชาชีพ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 16(3). 1-14.

ดารุณี จงอุดมการณ์. (2558). การพยาบาลสุขภาพครอบครัว: แนวคิดทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในครอบครัวระยะวิกฤต (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธัญญมล สุริยานิมิตสุข, ทุติยรัตน์ รื่นเริง, เอกพจน์ สืบญาติ. (2563). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิชาชีพ (IPE) เรื่องการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ปกติต่อสมรรถนะในการทำงานร่วมกันแบบสหวิชาชีพ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 12(2). 380-387.

ธวัชชัย ยืนยาว, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, วรนาถ พรหมศวร. (2564). การศึกษาผลของการจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพเรื่องอาหารสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนในนักศึกษาอุดมศึกษา จังหวัดสุรินทร์. วารสารพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 4(2). 23-36.

ปรัชญา พุมอุทัยวิรัตน์. (2563). การจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพ. วารสารราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์. 2(4). 12-28.

แพทยสภา. (2555). เรื่องเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2555. แหล่งที่มา https://www.tmc.or.th/file_08062012.pdf สืบค้นเมื่อ15 เมษายน 2563.

รัชนี ผิวผ่อง, อิสยา จันทร์วิทยานุชิต, มยุรี เก่งเกตุ และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 32(1). 150-170.

วณิชา ชื่นกองแก้ว. (2561). การศึกษาแบบสหวิชาชีพ. ครั้งที่ 2. กรุงเทพ:พี.เอ ลีฟวิ่ง จำกัด.

สุริยา ฟองเกิด และ ศุภรา หิมานันโต. (2559). การพยาบาลครอบครัว. ชลบุรี : วิทยาลัยพยาบาลบรราชชนนี ชลบุรี.

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. (2557). เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน. กรุงเทพ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สายฝน สฤษติกุล, ปลื้มจิต โชติกะ, ณิชชา ทิพย์วรรณ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมระหว่างวิชาชีพในการให้บริการสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังผ่านการเยี่ยมบ้านของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์และนักศึกษาเภสัชศาสตร์. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 7(2). 101-112.

สภาการพยาบาล. (2552). ประกาศสภาการพยาบาลเรื่อง สมรรถนะของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกสาขาพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลชั้นสูงระดับวุฒิบัตรและได้รับวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและผดุงครรภ์และการพยาบาลเฉพาะทางสาขาพยาบาลศาสตร์. แหล่งที่มา https://www.tnmc.or.th/images/ userfiles/files/004.pdf สืบค้นเมื่อ15 เมษายน 2563.

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตรวรรษที่ 21. คุรุสภาวิทยาจารย์. 2(1). 1-15.

สรญา แก้วพิทูลย์. (2561). เวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครราชสีมา: สำนักวิชาแพทย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, วารุณี เกตุอินทร์ และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 35(2). 140-152.

Gilbert, J.H., Yan, J.,& Hoffman, S.J. (2010). A WHO report: framework for action on interprofessional education and collaborative practice. Journal of Allied Health. 39(Suppl1). 196-197.

World Health Organization. (2010). Framework for action on interprofessional education and collaborative practice. Retrieved from http://www.who.int/hrh/nursing_midwifery/en/ April 13, 2022.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31