การพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ทรงพล รวมใหม่ -

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวชุมชน, เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์, แพลตฟอร์มการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาสถานการณ์ และสภาพปัญหาการท่องเที่ยวชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของชุมชน ๒. เพื่อศึกษากระบวนการจัดการทุนทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืน ๓. เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มโดยใช้ AI (Artificial Intelligent) ในการเพิ่มศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนบนฐานของทุนวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ (Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ซึ่งได้ลงพื้นที่วิจัยในช่วงโควิด-๑๙  สถานการณ์การท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวเดินทางลดลง ในช่วงปี ๒๕๖๓-๒๕๖๕ ผลการวิจัยพบว่าสถานการณ์ของการท่องเที่ยวชุมชนและนักท่องเที่ยวมีการใช้งาน AI ผ่านโปรแกรมต่างๆ และยังมีความต้องการใช้งานเทคโนโลยี AI ผ่านการใช้งานท่องเที่ยวอื่นๆเช่นกัน ภาพรวมของการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนเพื่อให้การท่องเที่ยวมีความยั่งยืนจำเป็นต้องมีการจัดการปัจจัยอื่นๆเพื่อให้เป็นระบบมากขึ้นผู้วิจัยได้นำเสนอโมเดล HPAIS เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย ๑. การจัดการด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource - H) ๒.การจัดการกระบวนการจัดการท่องเที่ยว (Process-P) ๓. การจัดการด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent- AI) ๔. การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและภาค (Support – S) ซึ่งโมเดลดังกล่าวสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้เป็นโปรแกรม Software Application เพื่อการท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ยั่งยืน

References

กรมการท่องเที่ยว. แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว. พ.ศ. 2561 - 2564 ของกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานครฯ : VIP COPY PRINT (วีอพี ก๊อปปี้ปริ้น). 2561.

ดาริน วรุณทรัพย์, “รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย. ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัชราชนครินทร์, 2561.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางวัฒนธรรมกับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ : กรอบความคิดและประเด็นการวิจัย. ทุนสังคม และทุนวัฒนธรรมในระบบเศรษฐกิจและการจัดการยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : พี.เอ. ลีฟวิ่ง, 2547.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. การจัดการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานครฯ : บริษัท โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด, 2562.

ธนกฤษ ภัทร์ธราธร. การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานครฯ : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). 2556.

ธนากร สังเขป. การพัฒนาอย่างยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ฉบัยที่ 2). (2562. 22 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 67 ก. หน้า 160 - 170.

นิศา ชัชกุล. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานครฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557.

บุญเจริญ ศิริเนาวกุล. ปัญญาประดิษฐ์. กรุงเทพมหานครฯ : บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด. 2550.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานครฯ : บริษัท เพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด. 2548.

บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข. ยล เยี่ยม เยือน เหย้า แนวคิดและทฤษฏีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2558.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, กาญจนา แก้วเทพ และกนกศักดิ์ แก้วเทพ. วิธีวิทยาศึกษาสังคมไทย : วิถีใหม่แห่งการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : เอดิสั้น เฟรสโปรดักท์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปุยตฺโต). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 8 . กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-05