ชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนผลการเรียนต่ำ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)

ผู้แต่ง

  • วุฒิศักดิ์ บุญแน่น -

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC), COVID-19, การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนผลการเรียนต่ำ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของCOVID-19  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้วยกระบวนการ PLC และเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้หรือกิจกรรมเสริม ในรูปแบบ onsite และ Online กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยน้อยกว่า 2.00  จำนวน 97 คน  โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง การพัฒนากิจกรรมทั้งรูปแบบ Onsite และรูปแบบ Oline โดยใช้ระบบ Plat form Microsoft team ผลการวิจัย พบว่า มีนักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม GPAX สูงขึ้น หลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 82.47  และ มีนักเรียนที่มีผลการเรียนลดลง จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 17.53 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยผลการเรียนสะสม GPAX ของนักเรียน ทุกระดับชั้น ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ โดยใช้สถิติ Paired t-test พบว่า นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยผลการเรียนสะสม GPAX  หลังเข้าร่วมโครงการ สูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ.05 และ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยผลการเรียนสะสม GPAX โดยรวมของนักเรียน ทุกระดับชั้น ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ พบว่า ค่าเฉลี่ยผลการเรียนสะสม GPAX  หลังเข้าร่วมโครงการ สูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

คำสำคัญ : ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC), COVID-19, การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน

References

ชวลิต ชูกำแพง และ เกศราพร ชาดง. (2561). การประยุกต์ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการ จัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมกระบวนการทางาน

กลุ่ม สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม. วารสาร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2561. มหาสารคาม.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2560). การวิจัยการเรียนการสอน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ปิยะสุดา เพชราเวช, พระครูกิตติวราทร. (2564). แนวทางการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ในยุคโควิด. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธิศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2

: กรกฎาคม – ธันวาคม 2564.

มนธิชา ทองหัตถา. (2021). สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวะลศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. ปีที่ 5 ฉ บั บ ที่ 1 ม ก ร า ค ม – มิ ถุ น า

ย น 2 5 6 4. Received: April 8, 2021 Revised: June 3, 2021 Accepted: June 4, 2021

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562). คู่มือประกอบการอบรม การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC(Professional Learning Community)

“ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ.

Fer Coenders & Nellie Verhoef. (2019). Lesson Study: professional development (PD) forbeginning and experienced teachers.

Professional Development in Education. Volume 45, 2019 - Issue 2. https://doi.org/10.1080/19415257.2018. 1430050

Julio César Vargas-Ramos, Claudia Lerma, Rebeca María Elena Guzmán-Saldaña,, Abel Lerma,Lilian Elizabeth Bosques-Brugada, and

Claudia Margarita González-Fragoso. (2022). Academic Performance during the COVID-19 Pandemic and Its Relationship with

Demographic Factors and Alcohol Consumption in College Students. International Journal Environmental Research. Public Health.

Jan; 19(1): 365. Published online 2021 Dec 30. doi: 10.3390/ijerph19010365.

Ligon, D. (2009). 21stCentury Teaching & Learning. 9 August 2009.

q=cache:HlEfUqF_bbEJ : /profiles/blogs/21st-century-teaching-amp+&cd= 20&hl=th&ct=clnk&gl =th.> 4 December 2013. .online.

[accessed Dec. 4. 2018].

Laura Giusti, Silvia Mammarella, Anna Salza, Sasha Del Vecchio, Donatella Ussorio, Massimo Casacchia and Rita Roncone. (2021).

Predictors of academic performance during the covid-19 outbreak: impact of distance education on mental health, social cognition

and memory abilities in an Italian university student sample. BMC Psychology. Giusti et al. BMC Psychol (2021) 9:142.

https://doi.org/10.1186/s40359-021-00649-9.

Qurotul Aini, Mukti Budiarto, P. O. H. Putra, Untung Rahardja. (2020). Exploring E-learning Challenges During the Global COVID-19

Pandemic : A Review. Jurnal Sistem Informasi (Journal of Information System). Vol. 16 No. 2 (2020) : DOI:

https://doi.org/10.21609/ jsi.v16i2.1011

Selcuk Doğan & Alyson Adams. (2018). Effect of professional learning communities on teachers and students: reporting updated results

and raising questions about research design. International Journal of Research, Policy and Practice. Volume 29, 2018 - Issue 4 :

Pages 634-659.

Tadesse, S. and Muluye, W. (2020). The Impact of COVID-19 Pandemic on Education System in Developing Countries: A Review. Open

Journal of Social Sciences, 8, 159-170. doi: 10.4236/jss.2020.810011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-02