นโยบายและมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของพระสงฆ์ในสังคมไทย
คำสำคัญ:
ยาเสพติด, การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด, พระสงฆ์ไทยบทคัดย่อ
การศึกษานโยบายและมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของพระสงฆ์ในสังคมไทยเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “การสร้างเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของคณะสงฆ์ไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสร้างการรับรู้ ความตระหนัก การเฝ้าระวังและการแก้ไขปัญหายาเสพติดของคณะสงฆ์ในสังคมไทย
ซึ่งเป็นการวิจัยทั้งในเชิงเอกสารและเชิงคุณภาพจากนโยบายของมหาเถรสมาคมและการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะสงฆ์ในระดับชุมชนและจังหวัดในพื้นที่ต้นแบบจำนวน 12 จังหวัดในสังคมไทย ผลการศึกษาพบว่า มหาเถรสมาคมได้มีนโยบายและมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดรวมจำนวนทั้งหมด 10 มติในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา เช่น มติมหาเถรสมาคมที่ 321/2544 เรื่อง “ป้องกันภัยยาเสพติด” ที่มีมติให้เจ้าคณะผู้ปกครองและเจ้าอาวาสร่วมมือกับทางราชการในการป้องกันภัยยาเสพติดและเห็นชอบให้วัดเป็นศูนย์สงเคราะห์และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สำหรับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่คณะสงฆ์ระดับวัด ระดับจังหวัดและมหาเถรสมาคมได้มีแนวทางการดำเนินการ คือ การใช้ “หลักธรรมนำทางโลก” ผสมผสานกับการสร้างมาตราการป้องกันในระดับวัด ชุมชน ระดับจังหวัด เช่น การคัดกรองผู้ขอบวชและการตรวจสอบประวัติรายบุคคล การจัดให้มีพระพี่เลี้ยงและอบรมตามพระธรรมวินัย การอบรมความรู้เรื่องยาเสพติดแก่พระสงฆ์ การตรวจคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์เชิงรุก การเฝ้าระวังยาเสพติดไม่ให้เข้าสู่วัดโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เป็น “วัดส่งเสริมสุขภาพ” และการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
References
กลุ่มงานตรวจยาเสพติด กองพิสูจน์หลักฐานกลาง, (2558) รายงานผลการดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจพิสูจน์พืชกระท่อมและการเตรียมสารมาตรฐานสำคัญที่พบในพืชกระท่อม, กรุงเทพมหานคร: กองพิสูจน์หลักฐานกลาง
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. ช่อลดา พันธุเสนา และคณะ, (2547). “รายงานชุดโครงการวิจัย เรื่อง สภาพปัญหา สาเหตุ ผลกระทบและแนวทางการแก้ไขของการใช้สารเสพติดในประชากรภาคใต้”, รายงานการวิจัย, สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธีรยุทธ วิสุทธิ, (2551). “การประยุกต์หลักธรรมร่วมกับกิจกรรมบำบัดในการบำบัดรักษาผู้ป่วยสุรา: กรณีศึกษาผู้ป่วยสุราในศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่”, รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นุศรา เข็มทอง. (2558) กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.
พันจ่าอากาศเอกบุญเพ็ง หงษา, (2548). “การประยุกต์พุทธธรรมในหลักสูตรค่ายผู้นำเยาวชนต่อต้านยาเสพติดของกองทัพอากาศ”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาธนกร กตปุญฺโญ และคณะ. (2562) “พุทธวิธีในการดำเนินการบำบัดผู้เสพยาเสพติด ของสถานพักฟื้นวัดถ้ำกระบอก” วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562.
พระกาญจนะ ธมฺมธโร, (2556). “การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อใช้แก้ปัญหายาเสพติดในสังคมไทยยุคปัจจุบัน”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธชาติ คำสำโรง (2549), พระสงฆ์กับการส่งเสริมเยาวชนและประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด, ทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, (2558). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558-2562. กรุงเทพมหานคร: ป.ป.ส. รายงานพิเศษ : สถานการณ์ยาเสพติด การแพร่ระบาด การตลาดยาเสพติด นโยบายการลดอันตรายจากยาเสพติด ที่มา https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG190924183508847
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (แม่โจ้โพลล์) http://www.maejopoll.mju.ac.th/wtms_newsDetail.aspx?nID=20308
United Nations Office on Drugs and Crime. (2018) Changes in the Golden Triangle : the shift to synthetics, challenges to the Mekong and surrounding regions. Mekong MOU Senior Official Committee Meeting, Nay Pyi Taw, Myanmar.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.