องค์ประกอบเชิงยืนยันความสุขในการทำงานของพนักงาน ฝ่ายช่างบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา ถูกจิตต์
  • สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
  • พระมหาถาวร ถาวโร (หนูอิน)

คำสำคัญ:

องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ความสุขในการทำงาน, พนักงานฝ่ายช่าง, พนักงานฝ่ายช่างผู้เป็นกัลยาณชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบความสุขในการทำงานของพนักงาน ฝ่ายช่างบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายช่างบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 3) เพื่อนำเสนอโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายช่างบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานฝ่ายช่างบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 328 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิค 6’C ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม LISREL

ผลการวิจัยมีดังนี้

  1. องค์ประกอบความสุขในการทำงานของพนักงาน ฝ่ายช่างบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ประกอบด้วย ตัวแปรแฝงภายนอก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านความต้องการส่วนบุคคล องค์ประกอบที่ 2 ด้านองค์กร องค์ประกอบที่ 3 ด้านใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิต (มรรคมีองค์ 8( องค์ประกอบที่ 4 ด้านจิตวิทยาเชิงบวก
  2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ในภาพรวมทุกองค์ประกอบมีน้ำหนักองค์ประกอบค่าเป็นบวกทั้งหมด มีขนาดตั้งแต่ 0.61 ถึง 0.97 องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักสำคัญมากที่สุดเป็นองค์ประกอบด้านความความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งอธิบายความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายช่าง บริษัทการบินไทย จำกัด ได้ร้อยละ 98 รองลงมา คือ องค์ประกอบด้านบรรยากาศในการทำงาน ซึ่งอธิบายความสุขในการทำงานได้ร้อยละ 93 และผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าไคสแควร์ (c2) เท่ากับ 601.866 ค่าองศา (df) เท่ากับ 303 ค่าไคสแควร์สัมพันธ์ (c2/ df) เท่ากับ 1.98 ค่า RMR เท่ากับ 0.0364 ค่า SRMR เท่ากับ 0.741 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.08 ค่า GFI เท่ากับ 0.90 และค่า AGFI เท่ากับ 0.909 แสดงว่า โมเดลความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายช่าง บริษัทการบินไทย จำกัด มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์มาก

          3. โมเดลความสุขในการทำงานของพนักงาน ฝ่ายช่างบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ด้านบรรยากาศในการทำงาน ด้านการดำเนินชีวิตแนวทางสายกลาง และด้านจิตวิทยาเชิงบวก ตัวแปรสังเกตได้ 20 ตัวแปร ได้แก่ ความพึงพอใจในชีวิต ความพึงพอใจในงาน ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสมดุลชีวิต ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ค่าตอบแทน ความมั่นคง สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ความผูกพัน สัมพันธภาพ  และความสำเร็จ

References

นายชยพล มั่นจิต. (2563). “โปรแกรมพุทธจิตวิทยาการสร้างเสริมความสุขการคิดบวก

บุคลากรสายอาชีพช่าง”. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563.

แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน, (2552). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2552).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนฯ 12 ฉบับประชาชนนวัตกรรมคือหัวใจของการพัฒนา, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://planning.dld.go.th/th/images/

stories/section-5/2561/strategy09.pdf [11 พฤศจิกายน 2564].

Walton, R. E., Quality of working life: What is it?, Slone Management Review, 1973, 15 12-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-08