การจัดการแหล่งท่องเที่ยวปราสาทหินวัดพู เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว.

ผู้แต่ง

  • พระคำผ่าน ปานบุญ

คำสำคัญ:

การจัดการแหล่งท่องเที่ยวปราสาทหินวัดพู, เมืองจำปาสัก, ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง การจัดการแหล่งท่องเที่ยวปราสาทหินวัดพู
มีวัตถุประสงค์ 3 อย่างคือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว 2. เพื่อศึกษาการจัดการแหล่งท่องเที่ยว
3. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยว โดยมีระเบียบวิจัยคือ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ เจ้าหน้าที่เมืองจำปาสัก ประชาชนลาว จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวปราสาท ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 3 อย่าง วุฒิภาวะของผู้บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว บุคลากรภายในหน่วยงาน และงบประมาณในการจัดการ

  1. รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว ประกอบไปด้วย รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ปราสาทหินวัดพูคือ การอนุรักษ์ไม่ว่าจะเป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมจากแบบวิถีการดำรงชีวิต ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีและกิจกรรม กิจกรรมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวธรรมชาติ รวมทั้งกิจกรรมดำเนินงานนมัสการตัวปราสาท ซึ่งมีงานประจำปี
  2. ความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดการใน “การจัดการแหล่งท่องเที่ยว” ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริการ, ด้านการรักษาความสะอาด เป็นระเบียบ เหมาะสม, ด้านความปลอดภัย, ด้านการสื่อสาร และด้านการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

3. ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ 1) ด้านการบริการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการยังไม่เอาใจใส่ต่อหน้าที่เท่าที่ควร 2) ด้านการรักษาความสะอาด ยังไม่มีความสะอาดดีพอ
3) ด้านความปลอดภัย ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควรโดยเฉพาะการติดป้ายบอกเตือนจุดที่อันตรายสำหรับนักท่องเที่ยว 4) ด้านการสื่อสาร ยังขาดอุปกรณ์เครื่องมือในการสื่อสารที่ทันสมัย 5) ด้านการอำนวยความสะดวกต่างๆ ระบบการอำนวยความสะดวกยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว

References

กนกวรรณ ชูชาญ. การจัดการความรู้ทางทรัพยากรวัฒนธรรมโดยผู้นำชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านผาหมอนดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรม: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2552.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). คุณธรรมและพุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรมและโรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2535.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี). คนสำราญงานสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). 2550.

พระศรีสุทธิพงศ์ (สมส่วน ปฏิภาโณ). การจัดการมรดกโลกโดยการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์และประชาชน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน. 2564.

ภัทรวดี จินดารักษ์. การท่องเที่ยวชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่สีเขียวตำบลบางกะเจ้าและตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ,วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต การบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม. สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม คณะวนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2559.

สมพงษ์ เกษมสิน. การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไพบูลย์ สำราญพูติ. 2541.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-13