การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมและทุนทางสังคม

ผู้แต่ง

  • สุรัตน์ พักน้อย -

บทคัดย่อ

บนโลกใบนี้ มนุษย์ถือว่าเป็นสัตว์สังคมจำพวกหนึ่ง เพราะมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันและกัน มนุษย์มักจะรวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน สร้างบ้านเรือนและที่อยู่อาศัย ทำมาหากิน และอาศัยอยู่ร่วมกัน พึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งในลักษณะเช่นนี้จะเรียกว่าเป็นชุมชน หลังจากที่มีมนุษย์อาศัยอยู่รวมกันก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต ความสะดวกสบายในความเป็นอยู่ และต้องการความปลอดภัยในชีวิต ต้องการในการทำให้ตนเองมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นซึ่งเรียกว่า Quality      of Life โดยการที่บุคคลจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น ต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบมากมายหลายด้าน ซึ่งแต่ละองค์ประกอบจะมีความสำคัญมากน้อยแตกต่างกันไป ตามแต่ละทัศนะของแต่ละบุคคลหรือสังคมนั้น ๆ โดยองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตนั้นประกอบไปด้วย 1) ด้านร่างกาย (physical domain) คือ สภาพด้านร่างกายของบุคคลซึ่งมีผลต่อชีวิตประจำวัน เช่น สภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย ความสามารถในการทำงาน เป็นต้น 2) ด้านจิตใจ (psychological domain) คือ การรับรู้ทางสภาพจิตใจของตนเอง เช่น ความรู้สึกทางบวกและทางลบที่บุคคลมีต่อตนเอง เป็นต้น 3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (social relationships) คือ ความสัมพันธ์ของตนกับบุคคลอื่น การที่ได้รับความช่วยเหลือและได้เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือบุคคลอื่นในสังคม 4) ด้านสิ่งแวดล้อม (environment) คือ การมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต การที่ตนมีชีวิตอยู่อย่างอิสระ มีความปลอดภัยและมั่นคงในชีวิต 5) ด้านเศรษฐกิจ (economy) คือ สถานะทางเศรษฐกิจการเงินและรายได้ที่มั่นคง เป็นต้น โดยคุณภาพชีวิตของแต่ละบุคคลในแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไป ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และแนวทางในการพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้นมีหลากหลายแนวทาง ในบทความนี้ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมและทุนทางสังคมเท่านั้น

References

กนกวรรณ มะโนรมย์. (2555). หลังการพัฒนาสู่การเคลื่อนไหวทางสังคมผ่านพื้นที่ความรู้การจัดการทรัพยากรในภูมิภาคแม่โขง. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 8 (3) 69 - 102.

กฤช เพิ่มทันจิตต์. (2536). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับขบวนการเกิดเป็นเมือง. กรุงเทพมหานคร : ครีเอทีฟ พับลิชิ่ง จำกัด.

ชัยนาท จิตตวัฒนะ. (2539). การบริหารจัดการโครงการเมืองหน้าอยู่. กรุงเทพฯ: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม.

ณัฐพล ขันธไชย. (2527). แนวความคิดและทฤษฎีในการพัฒนาประเทศและการพัฒนาชนบทในการบริหารงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

นิพนธ์ คันธเสวี. (2536). คุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ .

นิศารัตน์ ศิลปเดช. (2540). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พิศิษฐ์การพิมพ์.

ปกรณ์ ปรียากร. (2538). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาในการบริหารการ. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพานิช.

ปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2545). สังคมวิทยาและมานุษยวิทยานคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2540). เศรษฐศาสตร์สีเขียวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด . กรุงเทพมหานคร: พิมพลักษณ์ช่อระกา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2530). ทางสายกลางของการศึกษาไทย (พิมพ์ครั้ง ที่ 2). กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พุทธทาสภิกขุ. (2537). การงานที่เป็นสุข. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534 ). การพัฒนาชุมชน: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: บากกอกบล็อก.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครัง้ ที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

สามชาย ศรีสันต์. การศึกษาการพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรม แหล่งที่มา http://www. Academia.edu/ 8914584/ สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564. สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำราญ จูช่วย. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

Escobar J. (2000). Nutrition and Immunology of Swine. Southern (eds.) Swine Nutrition. CRC Press.

Potter S. H. (2018). The influence of impact-based severe weather warnings on risk perceptions and intended protective actions.

Rostow W.W. (1960). Stages of Economic Growth. Mass. Cambridge University Press.

Siemiatycki Eliot. (2005). Post-Devlopment at a Crossroads: Towards a ‘Real’ Development. Undercurrent, 2 (3), 57 - 61.

WHOQOL Group. (1995). The World Health Organization Quality of Life Assessment (WHOQOL).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31