การบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เกียรติยศ ระวะนาวิก kob6624

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ปี พ.ศ.2559 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการที่เป็นแนวทางทำให้เกิดความสำเร็จในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางสู่การเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยใช้แนวคิด 7s ของ McKinsey เป็นกรอบในการศึกษา วิธีการศึกษาวิจัยประกอบด้วย 1) การศึกษาจากข้อมูลเอกสาร และ2) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน

ผลจากการศึกษา พบว่า แนวทางสู่การเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ผู้นำต้องมีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการ มีวิสัยทัศน์ รู้จักวางตัวหรือโน้มน้าวจิตใจผู้ร่วมงานให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และเต็มใจ มีการทำงานเป็น Teamwork มีการประสานงานกับประชาชนและภาครัฐเพื่อความสามัคคีลดความขัดแย้ง มีการบริหารจัดการด้วยความรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพทั้ง “Hard Side” มีความยืดหยุ่นในการทำงาน และ “Soft Side” ผู้นำใช้การมีส่วนร่วมในการบริหารงานเน้นการทำงานเป็นทีม มีแนวทางการทำงานที่ชัดเจน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โดยการยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และบูรณาการการทำงานเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนกับภาครัฐ ซึ่งต้นแบบที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ให้มีการบริหารจัดการที่ดีต่อไป

 

คำสำคัญ: 1.การบริหารจัดการที่ดี 2.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3.แนวคิด 7s ของ McKinsey

References

กตัญญู แก้วหานาม. (2554). ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล: ศึกษา

เปรียบเทียบเทศบาลนครขอนแก่นกับเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎี

บัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

กุลวัชร หงษ์คู. (2553). ธรรมภิบาลกับการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาล

นครสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง.

กรรณิการ์ สิทธิชัย และคณะ. (2561). บทความวิชาการเรื่อง การจัดการองค์กรตามแนวคิด 7s ของ

McKinsey ที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม กรณีศึกษาองค์กรที่ได้รางวัลองค์กรนวัตกรรม

ยอดเยี่ยม. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะปีที่ 11 ฉบับที่ 3 เดือน

กันยายน – ธันวาคม 2561

ตรงกมล สนามเขตและคณะ. (2565). แนวทางการเสริมสร้างทุนชุมชนให้เข้มแข็งสู่การกําหนดปัจจัยแห่ง

ความสำเร็จ จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจยวิชาการ ปีที่ 5ฉบับที่ 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์2565).

ประชา ตันเสนีย์. (2550). รูปแบบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของผู้บริหารระดับสูงของบริษัท (มหาชน) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของตลาดหลักทรัพย์แห่ง

ประเทศไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัชรพร ทองจันทนาม. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ. (2550). ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นสู่ผลสัมฤทธิ์: กรณีศึกษา องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุ่งนภา ตาอินทร์. (2551). ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับ

รางวัลบริหารจัดการที่ดี: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัด

เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันพัฒนานโยบายและการจัดการ. (2546). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ แผนกกลยุทธ์.

สถาบันพัฒนานโยบายและการจัดการ กรุงเทพมหานคร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สุปัญญดา สุนทรนนธ์. (2565). ปัจจัยความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รางวัลการบริหาร

จัดการที่ดี : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลโพสะ จังหวัดอ่างทอง.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2562). การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภาคกลาง บทความวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี ปีที่ 13 ฉบับที่3,

(ก.ย.-ธ.ค.2562), หน้า 41-51 มหาวิทยาลัยธนบุรี.

อนุจิตร ชิณสาร. (2557). “นวัตกรรมการบริหารขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ” ปรัชญาดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ

มหาวิทยาลัยบูรพา มิถุนายน 2557.

อนุจิตร ชิณสาร. (2563). การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศด้านความโปร่งใสและ

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด

นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. จังหวัดนครราชสีมา. ธันวาคม 2563.

อารี หนูชูสุขและคณะ. (2560). บทความทางวิชาการ เรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาท้องถิ่นสู่ผลสัมฤทธิ์

กรณีเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ) เมษายน-มิถุนายน 2560.

Aillin, M., & Lindgren, P. (2008). Conceptualizing strategic innovation leadership for competitive survival and excellence. Journal of Knowledge Globalization, 1(2), 87-108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31