บทบาทกระทรวงกลาโหม ในการบริหารจัดการภัยพิบัติ : ย้อนอดีต สู่อนาคต
คำสำคัญ:
บทบาทกระทรวงกลาโหม, หลักประกันคุณภาพ,การบริหารจัดการ,ประกันสุขภาพเอกชน, ภัยพิบัติ, ย้อนอดีต สู่อนาคตบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง บทบาทกระทรวงกลาโหมในการบริหารจัดการภัยพิบัติ : ย้อนอดีต สู่อนาคต มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อ ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและ อุปสรรค ในการบริหารจัดการภัยพิบัติของกระทรวงกลาโหม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ช่วยให้การบริหารจัดการภัยพิบัติของกระทรวงกลาโหมประสบผลสำเร็จ 3) เพื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนาเชิงนโยบายต่อบทบาทกระทรวงกลาโหมในการบริหารจัดการภัยพิบัติในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการนำกระบวนการบริหาร PAMS-POSDCoRB และ แนวคิด SWOT Analysis มาใช้เป็นกรอบการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคด้านที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการบริหารนโยบาย (Policy) 2) ปัจจัยสู่ความสำเร็จด้านที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการประสานงาน (Coordinating) 3) แนวทางการพัฒนา ด้านที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการบริหารนโยบาย (Policy) จากผลการวิจัยได้ใช้วิธีการสนทนากลุ่มเฉพาะเพื่อเป็นการสอบทานความถูกต้องของการวิจัยข้างต้น ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการวิจัย ภายใต้กรอบกระบวนการบริหาร PAMS-POSDCoRB จำนวน 11 ด้าน รวมทั้งสิ้น 34 ประเด็น สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านการบริหารนโยบาย (Policy ) จำนวน 4ประเด็น 2) ด้านการบริหารอำนาจหน้าที่ (Authority) จำนวน 3 ประเด็น 3) ด้านการบริหารจริยธรรม (Morality) จำนวน 2 ประเด็น 4) ด้านการบริหารที่เกี่ยวกับสังคม (Society) จำนวน 3 ประเด็น 5) ด้านการวางแผน (Planning) จำนวน 4 ประเด็น 6) ด้านการจัดการองค์การ (Organizing) จำนวน 4 ประเด็น 7) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staffing) จำนวน 3 ประเด็น 8) ด้านการอำนวยการ (Directing)จำนวน 4 ประเด็น 9) ด้านการประสานงาน (Coordinating) จำนวน 2 ประเด็น 10) ด้านการรายงาน (Report) จำนวน 2ประเด็น และ 11) ด้านงบประมาณ (Budget) จำนวน 3 ประเด็น
คำสำคัญ : บทบาทกระทรวงกลาโหม, การบริหารจัดการ, ภัยพิบัติ, ย้อนอดีต สู่อนาคต
References
บรรณานุกรม
กระทรวงกลาโหม. (2558). แผนบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม 2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงกลาโหม.
พระราชบัญญัติป้องกันละบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 52 ก. 7 กันยายน 2550.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, 2557.
สภาความมั่นคงแห่งชาติ, สำนักงาน. “ยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564” กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักสภาความมั่นคงแห่งชาติ, 2560.
กระทรวงกลาโหม. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551. เล่ม 125 ตอนที่ 26 ก. กรุงเทพฯ.
กระทรวงกลาโหม. (2556). ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556. เล่ม 130 ตอนที่ 109 ก. กรุงเทพฯ.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2549). หลักรัฐประศาสนศาสตร์แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : เอ็กซสเปอร์เน็ท.
ศิลปานันท์ ลำกูล, เกษมชาติ นเรศเสนีย์ และภานุวัฒน์ ภักดีวงศ์. (2558). บทบาทกองทัพไทยในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย : บทสำรวจปัญหาและแนวคิดในการแก้ไข. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 10(1), 35 - 50.
วรพงษ์ สง่าเนตร.(2558). การบริหารจัดการอุทกภัยของกองทัพไทยตามแนวพระบรมราโชวาท. ดุษฎีนิพนธ์มหาวิทยาลัยอีสเทอร์นเอเชีย (รัฐประศาสนศาสตร์)
Guha-Sapir, D. (2016). 2016 preliminary data : Human impact of natural disaster. The Centre for research on the Epidemiology of Disaster-CRED, (45), p.1-2.
Kamolvej. (2006). The integration of intergovernmental coordination and information management in response to immediate crisis : Thailand emergency management (Doctor of Philosophy). University of Pittsburgh, Pennsylvania, United States.
Kending, M.R. (2012). Disaster management for socioeconomic status challenged population in the united states (Doctor of Health Administration). University of Phoenix, Arizona, United States.
Wiran, C., Sarobol, S., Keawtip, S. & Yossuck, P. (2011). An application of POSDCoRB Model as a management tools for local administration in Maetang destrict, Chiang mai province. (Paper presented at the 12th The Graduate Research Conference). Khon Kaen University
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.