แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้ธัญพืชเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของ My Mon ตำบลไร่สะท้อน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์; คุกกี้ธัญพืช; ความพึงพอใจของผู้บริโภค; การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้ธัญพืชและศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์คุกกี้ธัญพืชเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของ My Mon ตำบลไร่สะท้อน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้วิธีการสุ่มแบบโดยบังเอิญ ทั้งนี้ ผู้วิจัยไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนจึงใช้การคำนวณตัวอย่างโดยใช้สูตรวิธีการคำนวณของ Cochran (1997) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ขนาดกลุ่มตัวอย่างคือ 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด ทั้งนี้ เพื่อให้สะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way anova) ณ ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการบริโภคผลิตภัณฑ์คุกกี้ธัญพืชต่างกันที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 ในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องเน้นด้านออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นภายใต้ความเป็นเอกลักษณ์ผ่านรูปทรงที่ทันสมัยและการใช้สีสันที่ดึงดูดผู้บริโภคนั้นมีความสำคัญมาก ในขณะที่ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์คุกกี้ธัญพืช พบว่า ผู้บริโภคพอใจต่อรสชาติกลมกล่อมอร่อยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ความหอม เนื้อนุ่มไม่แข็ง สีสันสวยงามน่ารับประทาน บรรจุภัณฑ์สวยงาม มีคุณค่าทางอาหาร มีขนาดปริมาณที่พอเหมาะและมีรายละเอียดส่วนผสมและป้ายฉลากที่ชัดเจน ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05
References
เกรียง กิจบำรุงรัตน์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคทางสังคม ออนไลน์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(1), 18-28.
จิรทัศน์ ดาวสมบูรณ์. (2563). การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาบ้าน มอญ ตำบลบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. กระแส วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 22(42), 19-33.
จิรวรรณ ปลั่งพงษ์พันธ์. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตภัณฑ์ทอผ้า จังหวัดชัยนาท. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 5(11), 73-89.
ดนยา สงครินทร์. (2563). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากต้นกก ตำบลดอนจิก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี. Journal of Modern Learning Development, 5(2), 178-190.
นรินทร์ เจริญพันธ์. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้จากมันเทศ. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 13(1), 32-43.
นิภาพร กุลณา และคณะ. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งที่มีใยอาหารสูงจากข้าวกล้อง สินเหล็ก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 25(1), 268-285.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553).การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ผกาวดี ภู่จันทร์ และคณะ (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบฟักทองรสต้มยำ. PSRU Journal of Science and Technology, 4(3), 15-26.
ภัทรานิษฐ์ สิทธินพพันธ์. (2564). การพัฒนารูปแบบและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งทอชุมชนพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรี (วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองลายโบราณบ้านสระบัวก่ำ). วารสาร การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 14(4), 128-156.
มนสิชา อนุกูล. (2564). แนวทางการจัดการส่งเสริมกลุ่มอาชีพชุมชน ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 137-146.
สวาท เกิดศิริ และสิริชนุตต์ ทองชิว. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยเสริมผักหวานป่า. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 5(2), 107-112.
สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2564). การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน มูลค่าเพิ่ม และความสามารถใน การจัดการนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมะม่วงเพื่อการส่งออก ในบริบทพื้นที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1), 41-54.
สุวรรณา สายรวมญาติ. (2564). พฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวสารบรรจุถุงและปัจจัยที่กำหนดราคา กรณีศึกษาผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 8(1), 38-52.
อัจฉราวรรณ สุขเกิด. (2564). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดผ่านระบบสารสนเทศ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทย หมู่ที่ 6 ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัด ปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 65-76.
Bhuiyan, N. (2011). A framework for successful new product development. Journal of
Industrial Engineering and Management, 4(4), 746-770.
Cochran, W.G. (1997). Sampling Techniques. John Wiley Sons; Third Edition.
Dubrin, A. J. (1997). Human Relations Interpersonal. 6th ed. New Jersey: Prentice-
Hall, Inc.
Solomon, M. (2009). Consumer behavior: Buying, having and being. 8thed. Upper
Saddle River, NJ: Pearson Education.
Yüksel, A. & Yüksel, F. (2008). Consumer Satisfaction Theories: A Critical Review. Tourist Satisfaction and Complaining Behavior: Measurement, and Management Issues in the Tourism and Hospitality Industry, Nova Science Publishers, New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.