การจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ศึกษาชุมชนในจังหวัดตราด
คำสำคัญ:
การจัดการป่าชายเลน, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, แนวคิดการจัดการทรัพยากรร่วมบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่องการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: ศึกษาชุมชนในจังหวัดตราด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดการจัดการทรัพยากรร่วมของเอลินอร์ ออสตรอม โดยมีระเบียบวิธีวิจัยคือ เป็นการวิจัยแบบสหวิทยาการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกกรณีศึกษาชุมชนบ้านเปร็ดใน ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่มและการศึกษาจากเอกสาร ผลการวิจัย พบว่าการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนบ้านเปร็ดในตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดการจัดการทรัพยากรร่วมของเอลินอร์ ออสตรอมมีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่ของการยอมรับให้ชาวบ้านเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้ ภายใต้เงื่อนไขของการกำกับดูแลและต้องมีระบบการอนุรักษ์ฟื้นฟู การสนับสนุนการจัดการตนเองของชุมชนรวมถึงการทำงานเป็นภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกชุมชน และมีเป้าหมายร่วมกันคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งสามมิติ คือเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ: การจัดการป่าชายเลน, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, แนวคิดการจัดการทรัพยากรร่วม
References
ข้อมูลสารสนเทศ กรมป่าไม้. (2565). เนื้อที่ป่าไม้ของประเทศไทย ปีพ.ศ. 2516-2564. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://forestinfo.forest.go.th/Content สืบค้นเมื่อ 10 ก.ย. 2564
จักรกฤษณ์ จันทร์แฉล้ม. (2558). กระบวนการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนต้นแบบบ้านเปร็ดใน ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จาตุรงค์ คงแก้ว. (2559). กระบวนการพัฒนาพื้นที่การจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนชายฝั่งอ่าวพังงา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2559). ปฏิบัติการวิจัยทางสังคม. จันทบุรี: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เดือนนภา ภู่ทอง. (2561). การจัดการป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืน โดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสาธารณะและจารีต ประเพณีท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ. วารสารการบริหารและการจัดการ. 6(2): 80
บุญยิ่ง สิงห์พันธ์. (2564, ธันวาคม 28). สัมภาษณ์,
พัชรินทร์ โชคศิริ. (2560). การจัดการทรัพยากรร่วม: กรณีศึกษาป่าชุมชนในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 35(3): 178
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2558). การจัดการภาคีสาธารณะแบบใหม่ในกรณีของป่าชุมชนภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัย คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2559). การจัดการทรัพยากรร่วมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง: ศึกษากรณีของป่าชุมชนในภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัย คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อำพร แพทย์ศาสตร์. (2564, กุมภาพันธ์ 2). สัมภาษณ์,
Ostrom, E. (2010). Beyond Markets and State: Polycentric Governance of Complex Economics. American Economic Review. Vol.100, June.
World Rainforest Movement. (2020). Community-based Forest Management: Articles Published in the WRM Bulletin. (Online). http:www.wrm.org.uy/subjects/00cbfm/book.html. (retrieved 10 Sep, 2020).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.