วิถีแห่งความสำเร็จของคนในชุมชนแออัด

ผู้แต่ง

  • สุรัตน์ พักน้อย

คำสำคัญ:

ชุมชนแออัด, การแสวงหาโอกาส, ความคาดหวังในชีวิต, ความสำเร็จในชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การแสวงหาโอกาสและความคาดหวังในชีวิตของผู้อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการแสวงหาโอกาสและคาดหวังในชีวิตของผู้อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อศึกษากระบวนการ รูปแบบการแสวงหาโอกาสไปสู่ความสำเร็จในชีวิตของผู้อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๔๐๐ คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๐ คน โดยใช้การอธิบายและให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นบนฐานคติของการตีความของเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนสัญลักษณ์ ทุทางวัฒนธรรม การเรียนรู้ และหลักพุทธธรรม มีความสัมพันธ์ต่อการแสวงหาโอกาสและความคาดหวังในชีวิตของผู้อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดทั้งสิ้น โดยมีค่านัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า ๐.๐๕ มีอำนาจในการทำนาย หรือพยากรณ์ตัวแปรตามได้ ๘๔.๖ %       (R2 = ๐.๘๔๖)

             ในส่วนของกระบวนการ รูปแบบการแสวงหาโอกาสไปสู่ความสำเร็จในชีวิตของผู้อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร พบว่า การแสวงหาโอกาสโดยอาศัยปัจจัยภายใน ได้แก่ การสร้างพลัง องค์ความรู้ กรอบความคิด การลงมือทำ รวมถึงอาศัยปัจจัยภายนอก คือ ทุนทางการเงิน ครอบครัว นโยบายภาครัฐ               ภาคีเครือข่าย โดยนำปัจจัยเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสู่ความสำเร็จ ที่เริ่มจากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน           มีการวางแผน ทำการปฏิบัติตามแผน และการแก้อุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้น จนสามารถสร้างสรรค์ชีวิตตนเองไปสู่ความสำเร็จได้

References

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2550). ชนชั้นนำในการเมืองไทยปัจจุบัน : การศึกษากระบวนการผลิตซ้ำทุน วัฒนธรรมตามแนวปีแอร์ บูร์ดิเออ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,.

สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร. (2561). สถิติข้อมูลชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2561. กองนโยบายและแผนงานสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2554) โครงการวิจัยประเด็นนโยบายเชิงลึกด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนและสังคมไทย ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่หลังวิกฤตเศรษฐกิจ. รายงานวิจัย. สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31