การพัฒนาตัวบ่งชี้และมาตรวัดความงอกงามทางจิตวิญญาณเชิงพุทธ
คำสำคัญ:
ความงอกงามทางจิตวิญญาณเชิงพุทธ, การพัฒนาตัวบ่งชี้, มาตรวัดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ๑. เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้และมาตรวัดความงอกงามทางจิตวิญญาณเชิงพุทธ ๒. เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และมาตรวัดความงอกงามทางจิตวิญญาณเชิงพุทธ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี แบบลำดับเวลา โดยการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น ๒ ตอน คือ ตอนที่ ๑ การวิจัยเชิงคุณภาพ และตอนที่ ๒ การวิจัยเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ความงอกงามทางจิตวิญญาณเชิงพุทธ หมายถึงภาวะทางจิตใจสงบสุข ไม่เครียดไม่กังวลใจจนเกินไป เป็นการยกยกระดับจิตจากความเป็นสัตว์ สัตว์ในที่นี้หมายถึงคนที่มีจิตข้องในอารมณ์ต่างๆ การพัฒนาจิตงอกงามก็เป็นจากยกจิตที่เป็นสัตว์ให้เป็นมนุษย์ที่มีใจสูงขึ้น หรือเป็นคนที่พร้อมด้วยศีลธรรมและคุณธรรม ที่เป็นกระแสอริยะบุคคล ยึดพระพุทธศาสนาเป็นแกน อบรมขัดเกลาตัวเอง มี ๔ องค์ประกอบ ดังนี้ ๑. ความเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต ๒. ความคงกระพันทางจิตใจ ๓.ความเชื่อมโยงกับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม ๔.ความเชื่อมกับพุทธศาสนา และตัวบ่งชี้อีก ๑๕ ตัวบ่งชี้ การวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิเคราะห์ พบว่า น้ำหนักองค์ประกอบของทุกองค์ประกอบ มีค่าเป็นบวก โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.955 ถึง 0.682 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกตัว โดยองค์ประกอบ ความเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงสุดเท่ากับ ๐.๙๕๕ แสดงว่าตัวองค์ประกอบ ความเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของความงอกงามทางจิตวิญญาณ รองลงมา คือ ความคงกระพันทางจิตใจ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.961 และต่ำสุด คือ ความเชื่อมกับพุทธศาสนา มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ0.682 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบตามโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความงอกงามทางจิตวิญญาณ โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก
References
ทวีศักดิ์ กันโยไช. (2550). คุณและโทษของการมีและการขาดคุณธรรม จริยธรรม.
แหล่งที่มา: http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/reli/16.htm สืบค้นเมื่อ 3 ก.ย. 2563.
ผกากาญจน์ กุมผัน. (2551). บทเรียนออนไลน์พระพุทธศาสนา : พระพุทธศาสนาเป็น
ศาสตร์แห่งการศึกษา. แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/buddhismsubjectm6 สืบค้นเมื่อ 3 ก.ย. 2563.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2549). สังคมต้องมีจิตวิญญาณ. แหล่งที่มา: https://mgronline.com/daily/detail/9490000083643 สืบค้นเมื่อ 5 พ.ย. 2563.
วรัญญา ถวัลย์กิจดำรง. (2559). การเติบโตทางจิตวิญญาณภายหลังเหตุการณ์สะเทือน
ขวัญในผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งระบบโลหิตวิทยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมรักษ์ ทองทรัพย์. (2553). ประสบการณ์ความงอกงามหลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิง
จิตวิทยาของนิสิตนักศึกษาที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภากร เปรี้ยวนิ่ม. (2563). พัฒนามาตรวัดความผาสุกทางจิต. วิทยานิพนธ์ดุษฎีนิพนธ์
สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Creswell, J., & Plano Clark, V. (2007). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Thousand Oaks. CA: Sage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.