การสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พลวัฒน์ ชุมสุข

คำสำคัญ:

การสร้างความมั่นคง, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, สังคมไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสถานะความมั่นคงทางอาหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย๒)เพื่อศึกษากระบวนการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  

ผลการวิจัยพบว่า   

๑. ผลศึกษาสถานะความมั่นคงทางอาหาร พบว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับทำการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่จึงทำการเกษตรเป็นหลัก มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน มีความอุดมสมบูรณ์ด้านข้าวปลาอาหาร มีกลุ่มเกษตรกรส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ชุมชนมีบริบทที่แตกต่างกัน มีโครงสร้างและความปฏิสัมพันธ์ในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร (๑) มีอาหารพอเพียงและมีคุณภาพที่เหมาะสม (๒) ทุกคนเข้าถึงอาหารได้เพียงพอ (๓) การใช้ประโยชน์เน้นการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (๔) มีเสถียรภาพทางอาหารที่ได้รับมาตรฐานที่มีคุณภาพสูง (๕) การ
ผลิตอาหารและอาหารแปรรูป เช่น แปรข้าวเปลือกเป็นข้าวสารแปรเป็นรูปปลาเป็นปลาอบแห้ง ปลาเส้นและการแปรรูปผลไม้ เป็นต้น

           

  ๒) กระบวนการสร้างความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน ๑) การเรียนรู้ของกลุ่มเกษตรกร ๒) การตระหนัก/สำนึกของกลุ่มเกษตรกร ๓) การยอมรับของกลุ่มเกษตรกร ๔) การประยุกต์ใช้ผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร และ ๕) การใช้นวัตกรรมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร

  ๓) การสร้างความมั่นคงทางอาหาร พบว่า มีการผลิตอาหารจากการร่วมกลุ่มเกษตรกร ส่งเสริมการเกษตร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรมีทั้งรูปแบบการผลิต และการแปรรูปผลผลิต เช่น ทำนาปลูกข้าวเป็นหลัก ผลิตผัก มีการแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร กลุ่มแปรรูปผลไม้ กลุ่มแปรรูปปลาอบแห้ง เป็นต้น ผู้วิจัยจึงเสนอการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย โดยนำแนวคิดกระบวนการพัฒนาสังคมมาประยุกต์ใช้เป็นกระบวนการสร้างความมั่นคงทางอาหาร สรุปได้ ๓ ลักษณะ คือ (๑) แบบเกษตรชุมชนทำสวนเป็นฐาน (๒) แบบเกษตรชุมชนทำไร่นาสวนผสม (๓) แบบกลุ่มผลิตอาหารและการแปรรูปผลผลิต โดยการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน เป็นวงเกลียวการเรียนรู้มีลักษณะเชื่อมโยงต่อเนื่องกันขึ้นไป ๓ ระยะ คือ (๑) การเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูพัฒนาวิถีชุมชนและการพึ่งตนเองสู่การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร (๒) การเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนชุมชนสู่การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน (๓) การเรียนรู้เพื่อพัฒนาการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มุ่งเป้าหมาย เพื่อ การสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย

 

References

กรมส่งเสริมสหกรณ์. อุดมการณ์สหกรณ์. [แหล่งที่มา] http://www cpd.go/th/ewt _mews.php. [๕/๐๑/๒๕๖๓]

พระธรรมปิฎก, (ป.อ.ปยุตโต), การพัฒนาที่ยั่งยืน, (กรุงเทพหมานคร: โกมลคีมทอง, ๒๕๔๑).

ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๗๔, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๔๐/๒๐๑, ดูเพิ่มเติมใน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๖, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๕๔),

ชัยณรงค์ ลาภเศรษฐานุรักษ์ วิกฤติการณ์อาหารมีโลก คือโอกาสความมั่นคงทางอาหารของไทย.(เพื่อการพัฒนาชนบท ๑๐ (๓๕) ๒๕๕๓).

พรทิพย์ ติลกานันท์, “การนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงทาง อาหาร” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗).

สุธานี มิลิพันธ์. ความมั่นคงทางอาหารของชาวลัวะบ้านป่ากำ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดนาน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต,สาขาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ, คณะทรัพยากรชิวภาพและเทคโนโลยี, (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. ๒๕๕๒).

ศรินทร์ ประชาสันต์. ความมั่นคงทางอาหาร: แนวคิดและตัวชี้วัด. (พิมพ์ครั้งที่ ๑) (สมุทรสาครพิมพ์ดี. ๒๕๕๕).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔),

วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์. วารสารการเมืองการปกครอง ปี ที่ ๕ ฉบับที่ ๒ มีนาคม – สิงหาคม ๒๕๕๘ การจัดการบ้านเมืองที่ดี/นโยบาย (Good Governance / Policy) ความมั่นคงทางอาหาร: จากพัฒนาการเกษตรสู่เศรษฐกิจพอเพียง.

วิเศษ สุจินพรัหม. ความมั่นคงทางอาหารที่ได้จากป่าชุมชนบ้านทุ่งยาว. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๕๙.

เส็ง เซฮัก, “ประสิทธิผลของธนาคารข้าวในการเพิ่มความมั่นคงทางอาหารในช่วงเวลาวิกฤตของหมู่บ้านตระแปงสะเกีย ชุมชนตระแปงเกราะยูง อำเภอตรัมกก จังหวัดตาแก้ว ประเทศกัมพูชา”, รายงานการศึกษา อิสระการจัดการพัฒนาชนบทมหาบัณฑิต (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๕๑)

เอพริว คิว คิว, “ธรรมาภิบาลการเปลี่ยนแปลงความมั่นคงทางเศรษฐกิจและอาหารในพม่า กรณีศึกษาเหมืองทองแดงเล็ตพาดอง”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่าง ประเทศ, (คณะรัฐศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖).

Lori Ann Thrupp, “Linking Agricultural Biodiversity and Food Security: The Valuable Role of Sustainable Agriculture” International Affairs, Vol.๗๖ No.2 (Apr2000):

John Hoddinott and Yisehac Yohannes, “Dietary Diversity as A food Security Indicators”, FCND Discussion Paper No.136. International Food Policy Research Institution, ๒๐๐๒.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31