การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะที่จำเป็นของผู้ตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัย
คำสำคัญ:
องค์ประกอบสมรรถนะ, ผู้ตรวจสอบ, ระบบป้องกันอัคคีภัยบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะที่จำเป็นของผู้ตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัย โดยการวิเคราะห์เนื้อหา อาศัยบูรณาการหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบริบทสมรรถนะ ผลการศึกษาพบว่า การเกิดอัคคีภัยไม่ว่าที่แห่งใดในโลกย่อมก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมหาศาล ตลอดจนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกทั้งภาพพจน์ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของสถานประกอบการ โดยทั่วไป หน่วยงานหลายๆ แห่งในประเทศไทยยังมีความเสี่ยงต่ออัคคีภัยในระดับที่น่าเป็นห่วงถึงแม้จะมีมาตรการในการระงับอัคคีภัยอยู่บ้างแต่ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือการป้องกัน ด้วยแนวทางในการนำมาตรฐานทางวิชาชีพเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับใช้ จึงน่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาในรายละเอียดขอปรับปรุงกฎหมายให้สามารถบังคับใช้ได้ผลมากยิ่งขึ้น สำหรับประเทศไทยยังไม่มีวิชาชีพเกี่ยวกับระบบป้องกันอัคคีภัยโดยตรง นอกจากผู้ตรวจสอบอาคารที่ต้องมีทีมงานทำหน้าที่ตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัย ดังนั้นผู้ตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัย หมายถึง บุคคลผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านตรวจสอบสภาพอาคาร สามารถวิเคราะห์หาต้นเหตุที่จะนำไปสู่การเกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน อันเนื่องจากสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร รวมทั้งระบบบริหารจัดการในเชิงบริหารการป้องกันการเกิดอัคคีภัยโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการลดโอกาส หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากอัคคีภัย ซึ่งส่งผลกระทบทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งจะต้องมีการเตรียมความพร้อมให้ครอบคลุมความเสี่ยง ด้วยการเริ่มต้นจากการวางแผนงานก่อนเกิดอัคคีภัย ขณะเกิดอัคคีภัย จนกระทั่งหลังเกิดอัคคีภัย ส่วนองค์ประกอบสมรรถนะที่จำเป็นของผู้ตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัย มี สี่ องค์ประกอบสมรรถนะที่จำเป็น คือ 1) ทักษะวิชาชีพของผู้ตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัย (H-BFI) 2) ความรู้ทักษะของผู้ตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัย (K-BFI) 3) ทักษะการสื่อสารของผู้ตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัย (S-BFI) และ 4) จรรยาบรรณในวิชาชีพของผู้ตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัย (A-BFI) ซึ่งควรมีการพัฒนากระบวนการเพิ่มสมรรถนะดังกล่าวแก่ผู้ตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยต่อไป
References
กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2562). คู่มือตรวจสอบและประเมินโครงสร้างอาคาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กิจจา จิตรภิรมย์. (2561). การควบคุมและป้องกันอัคคีภัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะอนุกรรมการคู่มือเทคนิคการตรวจสอบอาคารเพื่อความปลอดภัย. (2559). คู่มือเทคนิคการตรวจสอบอาคารเพื่อความปลอดภัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
ณัฐกานต์ เฟื่องขจร. (2558). สมรรถนะจำเป็นของวิศวกรไทยสำหรับทำงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัฐศักดิ์ บุญมี. (2560). พลศาสตร์อัคคีภัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นงรัตน์ อิสโร. (2564). คู่มือพัฒนานักศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร.
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และคณะ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2559) : 208-222.
ไพฑูรย์ วชิรวงศ์ภิญโญ. (2559). รูปแบบสมรรถนะวิศวกรฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ และสุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. (2556). ทักษะชีวิต.. แหล่งที่มา http://www.teenrama.com สืบค้นเมื่อ 17 ก.ย. 2565.
วรรณภา พิพัฒน์ธนวงศ์. (2557). ทักษะชีวิตวัยรุ่นไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 24(2) : 39-63.
วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์. (2561). 21st-Century Skill: ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. แหล่งที่มา https://medium.com/base-the-business-playhouse/21st-century-skill-ทักษะแห่งศตวรรษ ที่-21-898985d417ce สืบค้นเมื่อ 17 ก.ย. 2565.
สถาพร ปกป้อง. (2562). กฎหมายควบคุมอาคาร. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร/เทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สบพันธ์ ชิตานนท์. (2551). การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของผู้ตรวจสอบอาคาร. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สภาวิศวกร. (2564). ประกาศสภาวิศวกร เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับใบรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม. สำเนาเอกสารใบประกาศ สภาวิศวกร .
สมมาศ เลิศลักษณ์อรรยา. (2559). ระบบป้องกันอัคคีภัยกับการจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 6 (3), 351-358.
สุรชัย พรหมพันธุ์. (2554). ชำแหละสมรรถนะเพื่อการพัฒนา Competency. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.
Freitag, J. K. (2012). Fire prevention & protection as applied to building construction. Cambridge: Harvard University.
F. Hassan, M. Maisham, S.M.I. Khan, S.A.S. Alwi and H. Ramli, (2010). An evaluation of the competencies, skills and knowledge of Quantity Surveying graduates in consultant Quantity Surveying firms in Malaysia. The Quantity Surveying International Convention, DOI: 10.1109/CHUSER.2011.6163722
Hearn Close Smith Southey. (1996). Defining generic competencies in Australia : Towards a framework for professional development. Asia Pacific Journal of Human Resources, 34(3) : 44-62.
Linus J. McManaman. (1958). Social Engineering: The Legal Philosophy of Roscoe Pound, St. John’s Law Review, 33(1) : 1-47.
Michelle R.E. (2008). Competency Model: A Review of The Literature and The Role of The Employment and Training Administration (ETA). U.S. Department of Labor. 29 January 2008: 1-25.
Morgner C, Patel H. (2021). Understanding ethnicity and residential fires from the perspective of cultural values and practices: A case study of Leicester, United Kingdom. Fire Safety Journal : 125:103384. doi: 10.1016/j.firesaf.2021.103384
World Economic Forum March. (2016). 21st-Century Skills in Fostering Social and Emotional Learning through Technology. World Economic Forum March.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.