รูปแบบการสร้างความผูกพันตามหลักพุทธธรรมต่อองค์กรของครูสำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความผูกพัน, พุทธธรรม, โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครู ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนารูปแบบการสร้างความผูกพันตามหลักพุทธธรรมต่อองค์กรของครู สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เสนอรูปแบบการสร้างความผูกพันตามหลักพุทธธรรมต่อองค์กรของครู สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครู ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านปัจจัยค้ำจุน: ความเป็นธรรมในการพิจารณาขั้นเดือน ด้านจัดการ: การสร้างบรรยากาศในการทำงาน มีภาระงานนอกเหนือจากการสอนมากเกินไป ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา: มีการมอบหมายงานไม่ชัดเจน ความเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านวัฒนธรรมองค์กร: มีการครอบงำความคิด ความตระหนักหรือการยอมรับวัฒนธรรมในองค์กร ด้านความผูกพันด้านบรรทัดฐาน: บุคลากรที่มีอายุมากมีประสบการณ์ในการทำงานย้ายไปหน่วยงานอื่น 2) การพัฒนารูปแบบการสร้างความผูกพันตามหลักพุทธธรรมต่อองค์กรของครู สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อยพบว่าด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากตามลำดับ 3) ผลการเสนอรูปแบบการพัฒนารูปแบบการสร้างความผูกพันตามหลักพุทธธรรมต่อองค์กรของครู สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ส่วนประกอบของรูปแบบ 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 กระบวนการสร้างความผูกพัน ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของการสร้างความผูกพัน 2) ขั้นตอนการสร้างความผูกพัน 3) หลักพุทธธรรม 4) แนวทางการสร้างความผูกพัน และส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ
References
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2522). คู่มือจริยศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต, กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์สวย จำกัด.
ภรณี (กีร์ติบุตร) มหานนท์. (2529). การประเมินประสิทธิผลองค์การ Evaluation of organizational effectiveness, กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2557). “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์กรของพนักงาน มหาวิทยาลัยสายวิชาการในประเทศ,” วารสารบริหารธุรกิจ 37,142 เมษายน-มิถุนายน 2557
สำนักการศึกษา. (2554). แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครการบริหารงานบุคคล กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.
สำนักการศึกษา. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2563) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุภาวดี นพรุจจินดาม. (2553). “องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวง สาธารณสุข” ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Kahn, W.A. (1990). Psychological conditions of personal engagement and disengagement at work, Academy of Management Journal, 33: 1990
Mowday and others. (1987). The Academy of Management, Jourmal Vol. 30, No. 4 Dec.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.