โหราศาสตร์เมียนมา: การเดินทางจากเมียนมาสู่ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัญชุลิกา จันทะโพธิ์ -
  • รัตมณี พรมมืด

คำสำคัญ:

โหราศาสตร์, ประเทศเมียนมา, ประเทศไทย, การข้ามแดน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำรงอยู่ของโหราศาสตร์เมียนมาในสังคมเมียนมา และอิทธิพลของโหราศาสตร์เมียนมาที่ส่งผลต่อความเชื่อข้ามพรมแดนระหว่างเมียนมากับไทย เป็นการวิจัยแบบพรรณณาวิเคราะห์ ผู้วิจัยใช้เอกสารและตัวบทที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือในการศึกษา ใช้การสร้างความเป็นบ้านข้ามแดนกับการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเป็นกรอบแนวคิด และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อโหราศาสตร์เมียนมามีอิทธิพลต่อสังคมเมียนมานับตั้งแต่ยุคจารีตจนถึงปัจจุบัน โดยผู้นำการปกครองของเมียนมาในแต่ละยุคต่างนำความเชื่อโหราศาสตร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรม และกำหนดทิศทางของประเทศแตกต่างกันออกไป ขณะเดียวกันความเชื่อในโหราศาสตร์เมียนมายังมีลักษณะของก้าวข้ามเส้นเขตแดนไปมาระหว่างไทยกับเมียนมา โดย “หมอดูอีที” หรือ “ดอว์ ซเว ซเว วิงน์” ผู้ใช้การกระซิบจากสิ่งลี้ลับในการทำนาย สื่อไทยได้ผลิตซ้ำตัวตนของเธอ จนผลักดันให้ผู้ใช้บริการชาวไทยเข้าไปท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณในเมียนมา ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจคือบริษัท DTAC ในประเทศไทย เลือกใช้ “หมอดูซานซานิโบ” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ เขาถือเป็นผู้ใช้โหราศาสตร์ในรูปแบบเมียนมาในการทำนาย และถือเป็นปัญญาชนที่เคยต้องโทษจากการต่อต้านรัฐบาลทหาร สอดคล้องกับแรงงานเมียนมาในไทยส่วนใหญ่ที่การต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา พร้อม ๆ กับการพยายามเติมเต็มความเป็นบ้านแบบพม่าบนพื้นที่สังคมไทย ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างหมอดูกับผู้ใช้บริการ อยู่ภายใต้เงื่อนไขของการรับรู้ตัวตน วิธีการในการทำนาย และอุดมการณ์ทางการเมืองของหมอดูเป็นสำคัญ

References

กฤษณะ โชติสุทธิ์. (2560). อองซาน: ความทรงจำร่วมของแรงงานเมียนมาในจังหวัดระนอง. Walailak

Abode of Culture Journal. 17(2). 49-74

ขวัญชีวัน บัวแดง. (2555). พระสงฆ์และชุมชนพุทธศาสนาข้ามแดนไทย – เมียนมา: พื้นที่ศาสนาและ

อธิปไตย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 24(1-2). 287–314

คมชัดลึก. (23 ต.ค. 2555). ตะลุยเมียนมาร์ไปกับ'หมอดูอีที. คมชัดลึก. แหล่งที่มา:

https://www.komchadluek.net/entertainment/143006. สืบค้นเมื่อ 11 ก.ย. 64.

จริมา อุปรานุเคราะห์. (2557). ไหว้พระ 9 วัด": การท่องเที่ยวและผลกระทบต่อทรัพยากรวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยวัฒน์ ปะสุนะ. (2562). สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในจดหมายเหตุเมียนมา.

วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

(2). 149-174

ดุลยภาค ปรีชารัช. (2564). วิเคราะห์เหตุปัจจัย ทำไมเมียนมาย้ายเมืองหลวง จาก “ย่างกุ้ง” ไป

“เนปิดอว์”. แหล่งที่มา: https://www.silpa-mag.com/history/article_65062.

สืบค้นเมื่อ 6 ส.ค. 64.

ไทยรัฐออนไลน์. (2559). 'ออง ซาน ซูจี' ถึงไทยแล้ว เตรียมพบแรงงานเมียนมา ที่ 'ตลาดทะเลไทย'

เย็นนี้. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/645041. สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 64.

ไทยรัฐออนไลน์. (2560). ไม่ต้องรู้วันเดือนปีเกิด! ย้อนประวัติหมอดูอีที ผู้ทำนายอนาคต

ด้วยกระดาษและปากกา. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/1065560.

สืบค้นเมื่อ 11 ก.ย. 64.

ประชาไท. (2553). พม่าเปลี่ยนธงชาติ-สัญลักษณ์และชื่อประเทศใหม่. ประชาไท.

แหล่งที่มา: https://prachatai.com/journal/2010/10/31601. สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 64.

ประเมศฐ์ พิชญ์พันธ์เดชา. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของเกาะฮ่องกงที่มีอิทธิพลต่อ

นักท่องเที่ยวชาวไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระศรีสังคม ชยานุวฑฺโฒ (ธนาวงษ์). (2561). การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา : รูปแบบและเครือข่ายการ

จัดการท่องเที่ยวของวัดในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วาทินี บุญชะลักษี และคณะ. (2559). ความผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของแรงงานข้ามชาติเมียนมา

ในประเทศไทย : กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร. รายงานผลการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหิดล

วาสนา ละอองปลิว. (2549). ความสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมข้ามพรมแดน กรณีศึกษาชาวไทใหญ่ใน

พื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการกระทรวงวัฒนธรรม.

วิลาสินี โสภาพลและจักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. (2562). งานบุญข้ามถิ่น : การจัดวางตัวตนใหม่และการ

ต่อรองของแรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมาในจังหวัดขอนแก่น. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 6(1).95-112

ศิลปวัฒนธรรม. (2564). การสร้างเมือง ‘มัณฑะเลย์’ กับตำนานความสยดสยองของธรรมเนียมเมียนมา.

แหล่งที่มา: https://www.silpa-mag.com/history/article_44100. สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 64.

สุนทร คำยอด และสุทธิพงศ์ พัฒนวิบูลย์. (2561). ปะโอ ข้ามแดนในเมืองเชียงใหม่.

วารสารข่วงพญา. 13. 164-189

สุรศักดิ์ ศิลาวรรณา. (2550). การท่องเที่ยวและการเผยแพร่พระพุทธศาสนา บทบาทของวัดในเขต

กรุงเทพ มหานคร กรณีศึกษา วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดเบญจมบพิตรดุสิตฯ.

วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สยามดวงอะคาเดมี่. (2562). คอร์สเรียน โหราศาสตร์เมียนมา (เบื้องต้น) โหราศาสตร์อังคะวิชาธาตุ

ระบบพ่อครูดวงสุริยะเนตร. สะยามดวงอะคาเดมี่.

แหล่งที่มา: https://www.siamduangacademy.com/courses. สืบค้นเมื่อ 13 ก.ย. 64.

อดิสร เกิดมงคล. (2551). รายงาน : แรงงานเมียนมากับการใช้โทรศัพท์มือถือ.

แหล่งที่มา: https://prachatai.com/journal/2008/11/18946. สืบค้นเมื่อ 13 ก.ย. 64.

อรรวี แตงมีแสง. ( 1 มี.ค. 2557). หมอดูพม่าฟันธงไม่มีรัฐประหารชัวร์!. แหล่งที่มา:

https://www.komchadluek.net/news/politic/179966. สืบค้นเมื่อ 9 ก.ย. 64. Kravel-on-

Appadurai, A. (1990). Disjuncture and Difference in the Global Cultural Economy. Theory, Culture & Society. 7(2-3). 295-310. https://doi.org/10.1177/026327690007002017

Dtac Myanmar ဒီတက် မြန်မာ. (2561). အချစ်ရေး၊ ငွေကြေး နဲ့ အလုပ်အကိုင် ကံကောင်းချင်ရင်

မြန်မာနာမည်ကြီး ဗေဒင်... [Image attached]. แหล่งที่มา: https://bit.ly/3f3vu8U. สืบค้นเมื่อ 19 ต.ค. 64

Duncan, S. (n.d.). Astrology, Fortune Telling, Numerology and Yadayah Chai as practiced

by Myanmar Rulers. แหล่งที่มา: https://bit.ly/31pSHLu. สืบค้นเมื่อ 4 ก.ย. 64.

Frontiermyanmar.(2017). ET: Gifted since childhood with ‘supernatural power’.

Frontiermyanmar. แหล่งที่มา: https://bit.ly/3F0DRtx. สืบค้นเมื่อ 12 ก.ย. 64.

Godrej, D. (2008). A short story of burma.New Internationalist.

แหล่งที่มา: https://newint.org/features/2008/04/18/history/. สืบค้นเมื่อ 12 ส.ค. 64.

kravel-on. (2558). รู้จัก 'ซาน ซานิโบ' หมอดูชื่อดังของเมียนมา. Kravel-on-kravel-on.

https://www.kravel-on.com/san-zarni-bo/ สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 64.

Lazee. (2019). A visit to San Zarni Bo. lazytips.wordpress.

แหล่งที่มา: https://bit.ly/3Syjav2. สืบค้นเมื่อ 19 ก.ย. 64.

Nay Thiha, (2563). သင်မသိသေးတဲ့စံဇာဏီဘို. แหล่งที่มา:

https://www.myanmoreplus.com/2020/01/fate-and-the-future/. สืบค้นเมื่อ 19 ส.ค. 64

Mehden, F. V. (1961). Buddhism and Politics Burma. The Antioch Review. 21(2). 166-175. doi:10.2307/4610325

Polyplus Entertainment. (2563). ตัวแม่หมอดูตาทิพย์ "มะตีตี้" ทายาทหมอดูอีที กับคำ

ทำนายสุดท้าย [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=gbrorPeAOMo

สืบค้นเมื่อ 11 ก.ย. 64.

San Zarni Bo စံ-ဇာဏီဘို. (2562). အင်္ဂါသားသမီးများအတွက်

တစ်ပတ်တာဟောစာတမ်းလက်ဆောင်နှင့် MPT,Telenor,Ooredoo... [Video]. แหล่งที่มา:

https://www.facebook.com/watch/?v=416105138959396. สืบค้นเมื่อ 18 ส.ค. 64

Smith, M., & Kelly, C. (2006a) Holistic Tourism: Journeys of the Self?. Tourism Recreation

Research. 31(1). 15-24. DOI:10.1080/02508281.2006.11081243

Taylor, R. H. (2550). การจัดระเบียบสังคมใหม่ตามหลักเหตุผลของรัฐ ค.ศ. 1825-1942. รัฐในเมียนมา. (103-104). กรุงเทพมหานคร: Toyota Thailand Foundatton.

Vukonic, B. (1996). Tourism and religion. Pergamon: Oxford.

Zon pann pwint. (2015). Is the election result written in the stars?. myanmartimes.

แหล่งที่มา: https://bit.ly/3HoXhcj. สืบค้นเมื่อ 19 ก.ย. 64.

ရေစကြို အရှင်ဧသိက. (ม.ป.ป.). ထေရဝါဒ ဗုဒ္ဓဘာသာ စာပေရောင်ခြည်ကျောင်း.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31