การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, เสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย, โรงเรียนเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1)ศึกษาองค์ประกอบทักษะชีวิตและสภาพทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเอกชนจังหวัดปทุมธานี 2)พัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตชีวิตเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี 3)ทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเอกชนจังหวัดปทุมธานี 4)ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเอกชนจังหวัดปทุมธานี ระเบียบการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองใช้รูปแบบในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนธัญวิทย์ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 12 แผน 2) คู่มือกิจกรรมประกอบการใช้รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย ปทุมธานี 3) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมขัอมูล แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่นำรูปแบบกิจกรรมไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test for dependent) และการ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการศึกษาทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเอกชนจังหวัดปทุมธานี พบว่า 1)มีองค์ประกอบทักษะชีวิตปฐมวัย 4 ทักษะ ได้แก่ ด้านสังคม ด้านการสื่อสาร ด้านอารมณ์ และด้านการคิด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.11, SD. =0.57) และ 2) แบบการสัมภาษณ์มีค่าดัชนีความสอดคล้องความเที่ยงตรงเชิง เนื้อหา เท่ากับ 0.60-0.80
- การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี พบว่า ที่พัฒนาขึ้นมีการจัดการเรียนรู้แบบ PAAI ที่พัฒนาขึ้นมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการวางแผน (P: Planing) ขั้นกำหนดกิจกรรม (A: Activity) ขั้นทำกิจกรรม (A: Action) และขั้นสรุปผล (I: Inferring) และผ่านการรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 คน ประเมินให้มีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.21 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18
- การทดลองใช้รูปแบบส่งเสริมทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่เรียนรู้ทักษะชีวิตมีความสามารถในรูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ของผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทักษะชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
- ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย พบว่า ครูมีความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.17
References
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นลินี ณ นคร. (2557). การวัดและประเมินพุทธิปัญญาของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวคิดเรื่องทักษะชีวิตและการพัฒนาทักษะชีวิตในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Brunner. (1963). Brunner's intellectual development theory. Retrieved January 20, 2021, from http://www.baanjomyut.com.
Hanley, G.P., Heal, N.A., Tiger, T.H. and Ingvarsson, E.T. (2007) Evaluation of a classwide teaching program for developing preschool life skills. Journal of Applied Behavior Analysis, 40,277-300.
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: experience as the source of learning and development. New Jersey: Prentice-Hall Inc.,
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.