การจัดการฟาร์มสุกรแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร และองค์กรธุรกิจสุกรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ – ลำพูน
คำสำคัญ:
การจัดการฟาร์ม, ฟาร์มสุกร, เกษตรกรบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดการฟาร์มสุกรแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร และองค์กรธุรกิจสุกร ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ – ลำพูน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการฟาร์มสุกรของเกษตรกร และองค์กรธุรกิจสุกร ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน เพื่อพัฒนาการจัดการฟาร์มของเกษตรกร และองค์กรธุรกิจสุกร ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน และเพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการฟาร์มแบบบูรณาการรูปแบบใหม่อย่างยั่งยืนของเกษตรกร และองค์กรธุรกิจสุกร ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบสนทนากลุ่มเฉพาะ(Focus Group Discussion) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- ปัญหาการจัดการฟาร์มสุกรของเกษตรกร และองค์กรธุรกิจฟาร์ม ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน จากการศึกษาการเลี้ยงสุกรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน พบว่าเกษตรกรที่ทำฟาร์มสุกรทั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ – ลำพูน จะมีลักษณะการทำฟาร์มเลี้ยงสุกร แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การเลี้ยงอิสระ และการเลี้ยงกับองค์กรธุรกิจสุกรในรูปแบบ Contract Farming ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงแบบรับจ้างเลี้ยง โดยจะมีการทำฟาร์มเลี้ยงสุกรแยกประเภทการเลี้ยงอย่างชัดเจน จากการเข้าไปศึกษาเชิงลึกก็จะพบว่าเกษตรกรที่ทำฟาร์มสุกรจะประสบปัญหาในการจัดการฟาร์มสุกรและมีบางรายต้องเลิกกิจการไปทั้งเกษตรกรเลี้ยงอิสระ และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ Contract Farming โดยสรุปปัญหาหลักๆ 6 ด้าน ดังนี้ 1) ปัญหาด้านเงินทุน เช่น ไม่สามารถเข้าถึงสถาบันการเงินต่างๆ ได้ 2) ปัญหาด้านระบบการบริหารและการจัดการฟาร์ม เช่น ปัญหาในระบบการเลี้ยง 3) ปัญหาด้านเทคนิคองค์ความรู้ ส่วนใหญ่เกษตรกรจะได้รับองค์ความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ หรือกลุ่มเกษตรกรด้วยกัน 4) ปัญหาด้านกลไกตลาด เกษตรกรไม่เข้าใจกลไกตลาดองค์รวม ไม่มีช่องทางจำหน่ายเป็นของตนเอง 5) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการของเสียต่างๆ เช่น น้ำเสีย กลิ่น และ 6) ปัญหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เกษตรกรไม่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาหรือเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการผลิตสุกร
- รูปแบบการจัดการฟาร์มแบบบูรณาการรูปแบบใหม่อย่างยั่งยืนของเกษตรกร และองค์กรธุรกิจฟาร์ม ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน มีรูปแบบการจัดการ 6 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบด้านเงินทุน องค์กรธุรกิจหรือสถาบันการเงินสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้กับเกษตรกรในการทำฟาร์มสุกร 2) รูปแบบด้านระบบการบริหารและการจัดการฟาร์ม เทคนิคการจัดการฟาร์มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีการจดบันทึกข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต 3) รูปแบบด้านเทคนิคองค์ความรู้ องค์กรธุรกิจจะต้องจัดทำคู่มือหรือสื่อในการจัดการฟาร์มสุกรให้ครอบคลุมทุกมิติ 4) รูปแบบด้านกลไกการตลาด ภาครัฐหรือองค์กรธุรกิจสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรฟาร์ม เช่น กลุ่มสหกรณ์ กลุ่มผู้เลี้ยงสุกร หรือชมรม สมาคม เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและมีอำนาจในการต่อรอง การสร้างช่องทางการขายเป็นของตนเอง 5) รูปแบบด้านสิ่งแวดล้อม ต้องเข้าใจถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน อันเกิดจากการทำฟาร์มสุกรที่ไม่ได้มีมาตรฐานในการจัดการของเสียภายในฟาร์ม เช่นมูลสุกร น้ำเสีย กลิ่น และแมลงวันรบกวน เป็นต้น และ 6) รูปแบบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การบันทึกและจัดเก็บข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตจากฟาร์มเกษตรกรสามารถออกแบบโปรแกรมสำเร็จรูปให้เกษตรกรบันทึก การใช้ Application เกษตรกรสามารถบันทึกข้อมูลได้ทุกวัน ทำให้ทราบข้อมูลแบบ Real time
References
กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์, สุกร สถานการณ์การผลิต การตลาดสุกร และผลิตภัณฑ์ประจำเดือน มิถุนายน ๒๕๖๓, (กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์: กรมปศุสัตว์, ๒๕๖๓), มปน.
สำนักงานปศุสัตว์, ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ระดับประเทศปี ๒๕๕๗, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://ict.dld.go.th/webnew/ index. php/th/service-ict/report/-report-thailand-livestock/report
servey2557/980-report-survey57-1, [๒๒ มีนาคม ๒๕๖๔].
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ, จํานวนเกษตรกรและสุกร รายจังหวัด ปี ๒๕๖๓, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://ict.dld.go.th/webnew/images/stories/report/regislives/2020/T5-1-Pig.pdf [๒๓ มกราคม ๒๕๖๔].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.