การจัดการข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลภูเขาทองอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การจัดการ, การจัดการข้อมูลชุมชน, การพัฒนาเชิงพื้นที่บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลชุมชนของตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. ศึกษากระบวนการจัดการข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและ 3. นำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Analysis) กับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
- ข้อมูลชุมชนของตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มีการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของชุมชน (จปฐ.) และข้อมูลในด้านต่างๆ ได้แก่
ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ ซึ่งเป็นข้อมูลชุมชนที่มีความสำคัญในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดแผนและนโยบายที่นำไปสู่การพัฒนาชุมชน และการแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีการวางแผนและกำหนดความต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง จึงจะสามารถนำมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ชุดข้อมูลชุมชนที่ได้มานั้น จะต้องมีการจัดเก็บในรูปแบบต่างๆ ที่บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องหรือบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย - กระบวนการจัดการข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีขั้นตอนหลักๆ อยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน ซึ่งได้แก่
1) การจัดการข้อมูลหลัก โดยกำหนดข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการสำรวจ ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น สถานภาพ ระดับการศึกษา ข้อมูลรายได้ อาชีพ รวมถึงสร้างคำถามที่สามารถแสดงระดับความคิดเห็นให้กับกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการสำรวจสามารถเลือกแสดงความคิดเห็นตามตัวเลือกที่กำหนดได้ 2) การจัดการข้อมูลดำเนินงาน ซึ่งในขั้นตอนนี้ ได้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 2.1) กิจกรรม เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่นั้น จะใช้เครื่องมือในลักษณะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการ ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ เป็นต้น 2.2) ข้อมูลชุมชนหลังดำเนินงาน โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงสถิติ และสรุปข้อมูลออกแยกออกเป็นประเภทต่างๆ และ 3) การจัดทำรายงาน เมื่อข้อมูลชุมชนที่ได้ผ่านกิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลแล้ว จึงรวบรวมและจัดทำรายงานที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวก
References
จินตนา ไชยวัณณ์, วราภรณ์ บุญเชียง และรังสิยา นารินทร์. (2559). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในชุมชนโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์", บทความวิจัย, วารสารสาธารณสุขศาสตร์, ปีที่ 46 ฉบับที่ 3. 248-260.
เผด็จ จินดา. (2553). ระบบสารสนเทศชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน", บทความวิจัย, วารสารสารสนเทศศาสตร์, ปีที่ 28 ฉบับที่ 1. 93-106.
มาลี กาบมาลา. (2552). “การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อบูรณาการข้อมูลสำหรับการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ”, วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ลัดดาวัลย์ หมั่นนา. (2554). “การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และเวลาสำหรับเหตุการณ์ความไม่สงบต่อเนื่องทางใต้สุดของประเทศไทย”, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาภูมิสนเทศ), บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
วราภรณ์ หลวงมณี. (2545). “การจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาชาวบ้านของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน”, รายงานการวิจัย, (ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สุกัญชลิกา บุญมาธรรม. (2563). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรีกรณี ศึกษาอำเภอบ้านลาด (บ้านลาดโมเดล) วารสารวิชาการ นวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1. 51-62.
องค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง. (2564) “แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561 - 2565) ขององค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://phukaothong.go.th/public/plan_upload/backend/plan_22_1.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.