ความปกติใหม่ : การพัฒนารูปแบบจัดการบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพื่อป้องกันการอุบัติซ้ำของโรคระบาดโควิด-19
คำสำคัญ:
การป้องกันการอุบัติซ้ำของโรคระบาด, โรคเบาหวาน, โควิด-19, ความปกติใหม่บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “ความปกติใหม่ : การพัฒนารูปแบบจัดการบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพื่อป้องกันการอุบัติซ้ำของโรคระบาดโควิด-19” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานในภาวะปกติ 2) เพื่อศึกษาการจัดการบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานภายในวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับภาวะโรคระบาดและบริบทของการระบาด
โควิด-19 การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้บริหารหน่วยสุขภาพ โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม บุคลากรทางการแพทย์ และอาสาสมัคร ที่อยู่ในเขตพื้นที่ รพ.สต. ไขแสงกำเนิดมี ทั้งสิ้น 16 ท่าน และ การสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus-Group Discussion) เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ การจัดการบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-๑๙ ประกอบด้วย โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย กลุ่มบุคลากรที่ให้บริการและดูแลผู้ป่วยเบาหวาน, กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม และกลุ่มอาสาสมัครในพื้นที่ กลุ่มละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน และ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับ การจัดการบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพื่อป้องกันโรคระบาดโควิด-19 โดยการจัดกิจกรรม กับผู้ป่วยที่เข้ารับบริการคัดกรองเบาหวานและผู้ป่วยเบาหวานโดยอาสาสมัครจาก รพ.สต. ไขแสงกำเนิดมี ทั้งหมด 15 คน โดยวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานได้ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (x̄) และการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สำหรับอธิบายข้อมูลในกิจกรรมก่อนและหลังด้วยสถิติ Paired T Test โดยใช้วิธีวัดผลกิจกรรมก่อนและหลังกับแบบวัดกิจกรรม
ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัญหา อุปสรรคการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานในภาวะปกติ พบว่า จำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและมีปริมาณงานต่างๆ ที่ต้องดูแลในโรงพยาบาลมากมายประชากรที่เข้ามารับบริการ, การกิน ต้องเน้นผักและผลไม้เป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และสารพฤกษเคมีที่ช่วยป้องกันเบาหวาน, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็จะทำให้การดูแลควบคุมโรคเบาหวานทำได้ดีขึ้นทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงปริมาณและชนิดของอาหารที่รับประทานเข้าไป และปัญหาโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุข ยังไม่สามารถรองรับความต้องการของหน่วยบริการสาธารณสุข
2) การจัดการบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 พบว่า แบบวัดที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแบบวัดที่ 3 พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพื่อป้องกันโรคระบาดโควิด-19 โดยการทดสอบทั้งก่อนและหลังจากการทดสอบผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความแตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าการเข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ และแนวทางในการแก้ไขพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพื่อป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ส่วนแบบวัดที่ 2 ความรู้เรื่อง โควิด-19 ที่เชื่อมโยงกับโรคเบาหวาน พบว่า คะแนนเฉลี่ยเกี่ยวกับการวิเคราะห์การทดสอบทั้งก่อนและหลังได้ผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยคะแนนหลังกิจกรรมมีค่าสูงกว่าเล็กน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรคระบาด
โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ยังต้องทำความเข้าใจในโรคระบาดโควิด-19 และความเชื่อมโยงกับโรคเบาหวาน
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). New Normal ชีวิตวิถีใหม่, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.dmh. go.th/news/view.asp?id=2288
ภาวนา กีรติยุตวงศ์. (2544). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน: มโนมติสำคัญสำหรับการดูแล, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี. เพรส จำกัด หน้า 1.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2563). การดูแลตนเองสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานในช่วงที่มีไข้หวัด COVID-19, [ออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.dmthai.org/attachments/article/1004 /covid-19_in_dm.pdf
POBPAD. (2563). โรคเบาหวาน, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.pobpad.com/.
PPTV Online. (2562). คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเบาหวาน 4.8 ล้านคน, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/113887 [15 กรกฎาคม 2563].
World Health Organization. (2020) Coronavirus, (Geneva: World Health Organization, 2020).
World Health Organization. (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) situation report-71.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.