การบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จังหวัดปราจีนบุรี
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา, จังหวัดปราจีนบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 2) เพื่อศึกษาวิธีการส่งเสริมการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดปราจีนบุรี 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 274 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัญหาการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านพื้นที่การเรียนรู้
- วิธีการส่งเสริมการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดปราจีนบุรี บุคลากรทุกฝ่ายได้รับผิดชอบร่วมกันทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ คำนึงถึงประสิทธิภาพประสิทธิผลและความประหยัด บุคลากรและผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจ พัฒนาศักยภาพ เป็นที่ยอมรับของสังคมในระดับสากลมากขึ้น ส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถปฏิบัติงานเพื่อตอบสนอง ภารกิจของสถานศึกษา กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร ที่มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรบุคคลและระบบการประเมินผล เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถหลักให้แก่บุคลากร การบริหารจัดการมีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตลอดไป มุ่งให้บริการ ด้วยการส่งเสริม และปกป้องให้บุคลากรของโรงเรียน วิธีการเรียนที่ได้ผลที่สุดการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องสามารถสร้างบรรยากาศและ การเรียนรู้หรือการศึกษาที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนให้มากที่สุด
- เสนอแนวทางในการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดปราจีนบุรี มีการจัดประกันคุณภาพการศึกษา มีการบริหารระบบข้อมูลและสารสนเทศทางวิชาการ มีการบริหารจัดดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างโปร่งใส และยุติธรรม มีบทลงโทษบุคลากรเมื่อกระทำความผิดวินัยร้ายแรง มีการจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถปฏิบัติงานเพื่อตอบสนอง ภารกิจของสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูรู้จักบำรุงรักษาสื่อการเรียนการสอนเพื่อความสะดวกต่อการนำไปใช้ในสถานการณ์ของโรคระบาด สนับสนุนให้ครูเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้สื่อการเรียนการสอนออนไลน์ อบรมการใช้สื่อการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์ของโรคระบาด ดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสม จัดหาเอกสาร มีการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง มีการประชาสัมพันธ์งานการศึกษา ให้บริการต่อบุคลากรของศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ทุกระดับ
References
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน, 2546, หน้า 2.
อเนก ขำทอง (ป.ธ.9), ปัญญา สละทองตรง (ป.ธ.9), และนักวิชาการศาสนา 8 ว. (2550). ธรรมศึกษาชั้นตรี ฉบับปรับปรุงใหม่ที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย, 2550) หน้า 1-3.
กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). แนวทางการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ ปีงบประมาณ 2554, หน้า 48.
กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2565). ข้อมูลสถิติจากเอกสารโครงการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เพื่อเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ประจำปีงบประมาณ 2555, [ออนไลน์],แหล่งที่มา:http://www.dra.go.th/download/news/25550716/โครงการและกำหนดการแต่ละครั้ง, [17 พฤษภาคม 2565].
ระบบฐานข้อมูลศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ กรมศาสนา. (2565) รายชื่อศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (สถิติข้อมูล ศพอ.), [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.dra.go.th/dra_learn/ main.php?filename=name [18 พฤษภาคม 2565].)
นางศรีนวล ลัภกิตโร (ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม, นายเอกสิทธิ์ คล้ายแดง (นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ). (2559). รวม ศพอ.ทั่วประเทศ ปี 2559, (กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา ธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ ชั้น 15-16), ข้อมูลรวมสถิติจากเอกสาร วันที่ 11 เมษายน 2559. (อัดสำเนา)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน, 2546), หน้า 2.
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2542). การคณะสงฆ์ กับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ, (กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2542), หน้า 20-21.
สมศักดิ์ บุญปู่, ผศ.ดร. (2554). พระสงฆ์กับการศึกษาไทย, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554), หน้า 337.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.