การรักษาอัตลักษณ์ความเป็นมอญผ่านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรณีศึกษาชุมชนมอญ เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • Thatkham Suvandy

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, ชาวมอญ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เกาะเกร็ด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนชาวมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาการรักษาอัตลักษณ์ความเป็นมอญผ่านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาวมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการรักษาอัตลักษณ์ความเป็นมอญผ่านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนชาวมอญเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนชาวมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ชาวมอญ
    ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลเกาะเกร็ดได้อพยพจากพม่าเข้ามายังประเทศไทยเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2317 โดยพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ให้ครอบครัวชาวมอญที่อพยพเข้ามาได้อาศัยอยู่บริเวณริมน้ำเจ้าพระยาหรือบริเวณเกาะเกร็ดในปัจจุบัน ซึ่งชาวมอญในพื้นที่เกาะเกร็ดนี้ก็มีวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับผี และประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา โดยชาวมอญส่วนใหญ่ที่เข้ามานั้นมีความรู้ในการทำเครื่องปั้นดินเผา
  2. การท่องเที่ยวในเกาะเกร็ดยังคงเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ยังคงมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีเดิมเอาไว้ และยังคงมีการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ได้สืบทอดและแสดงออกเกี่ยวกับวัฒนธรรมมอญ มีการจัดให้มีการแสดงเกี่ยวกับอาชีพ และการแสดงมอญให้แก่นักท่องเที่ยวได้รับชม ประชาชนในชุมชนทุกคนร่วมมือกันกับหน่วยงานของภาครัฐทำให้ยังคงมีการักษา อนุรักษ์ วัฒนธรรมมอญเอาไว้เพื่อให้อยู่คู่กับเกาะเกร็ดต่อไป
  3. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวมอญเกาะเกร็ด ถึงแม้ว่าโลกในยุคปัจจุบันจะทำให้วัฒนธรรมบางอย่างของชาวมอญเกาะเกร็ดนั้นเปลี่ยนไปแต่ประชาชนในชุมชน พร้อมทั้งผู้นำก็ยังมีความพร้อมใจที่จะร่วมสืบสาน สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอันดีเหล่านี้เอาไว้ และพร้อมร่วมมือกับหน่วยงานอื่นให้เข้ามาช่วยดูแลและพัฒนา เพื่อให้คงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวมอญเกาะเกร็ดต่อไป

References

ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา. (2563). การอพยพของชาวมอญเข้าสู่ประเทศไทย, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/wisrut209prawatisastr-mxy/kar-xphyph-khxng-chaw-mxy-khea-su-prathesthiy [4 พ.ย.2563].

สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. (2563). เปิดงานแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “ชุมชนมอญเกาะเกร็ด”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://nonthaburi.go.th/5058.html, [6 พ.ย.2563].

องค์ บรรจุน. (2549). แกงเนื้อบ้านเกาะ (ฟะชุน), (กรุงเทพมหานคร: ศิลปวัฒนธรรม 2549) หน้า 50-53.

อรสา เงินฉาย. (2550). การศึกษาสภาพวัฒนธรรมของชุมชนชาวมอญเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550), หน้า 24-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-02