บทบาทและกระบวนการพัฒนาวัดเชิงสร้างสรรค์ของคณะสงฆ์อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
บทบาท, วัด, กระบวนการพัฒนาวัดเชิงสร้างสรรค์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทและกระบวนการพัฒนาวัดเชิงสร้างสรรค์ของคณะสงฆ์ในอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาวัดของคณะสงฆ์ในอำเภออำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู และ 3) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการพัฒนาวัดเชิงสร้างสรรค์ ของคณะสงฆ์ในอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นตัวเสริมและเพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า
- ลักษณะประชากรของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 29.8 มีพรรษา 1-10 พรรษา จำนวน 169 คน คิดเป็นร้อยละ 61.5 ส่วนใหญ่มีวุฒิทางการศึกษาสายสามัญในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 129 คน คิดเป็นร้อยละ 46.9 วุฒิการศึกษาทางธรรมในระดับนักธรรมชั้นตรี จำนวน 115 คน คิดเป็นร้อยละ 41.8 วุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรมส่วนใหญ่ไม่มีเปรียญธรรม จำนวน 214 คน คิดเป็นร้อยละ 77.8 ส่วนใหญ่มีตำแหน่งอื่น ๆ คือ เลขาธิการ, เหรัญญิก และพระลูกวัด จำนวน 237 คน คิดเป็นร้อยละ 86.2 และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 54.5
- ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและกระบวนการพัฒนาวัดเชิงสร้างสรรค์ของคณะสงฆ์ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน และระดับปานกลาง 2 ด้าน โดยเรียงตามลำดับ ได้แก่ 1) ด้านการสาธารณูปการ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 2) ด้านการปกครอง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 3) ด้านการสาธารณสงเคราะห์โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 4) ด้านการศาสนศึกษา โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55
5) ด้านการเผยแผ่ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.38 และ 6) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.24 ตามลำดับ - ผลวิเคราะห์การทดสอบสมมติฐานการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและกระบวนการพัฒนาวัดเชิงสร้างสรรค์ของคณะสงฆ์ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู สรุปได้ว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและกระบวนการพัฒนาวัดเชิงสร้างสรรค์ของคณะสงฆ์ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ด้านอายุแตกต่างกันซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนด้านพรรษา วุฒิทางการศึกษาสายสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม วุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรม ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่แตกต่างกันซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
References
กรมการศาสนา.(2542). คู่มือการบริหารและการจัดการวัดฉบับย่อ, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, 2542), หน้า 12.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ.(2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS, พิมพ์ครั้งที่ 9, (นนทบุรี: บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, 2551), หน้า 55.
พระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2545). วิทยาพระสังฆาธิการ เล่ม 2, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2545), หน้า 16.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2541). การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, 2541), หน้า 44.
พระมหาอนุศักดิ์ จันทราลักษณ์. (2554). “ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหาจัดการวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดมหาสารคาม”, รายงานการค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต, (สาขาการศึกษานอกระบบ: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2544), หน้า 63.
สำนักงานเลขานุการเจ้าคณะอำเภอ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. (2564). บัญชีสำรวจข้อมูลพระภิกษุ สามเณร และศิษย์วัด ประจำปี 2564, 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). รายงานผลการสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ศ. 2554, ตุลาคม 2554.
Lee J. Cronbach, Essentials of Psychological Testing, 4th ed., (New York: Harper & Row, 1971), p. 123.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.