รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียน ระดับประถมศึกษา ในจังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • วันทนีย์ กระแสครุป -

คำสำคัญ:

ความเป็นพลเมืองดี, ความเคารพ, วินัย, ความสุจริต, จิตสาธารณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี  และนำเสนอรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดอุทัยธานี โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเป็นแบบผสมวิธี (Mix Methods) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4 – 6 ที่ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 12 รูปหรือคนด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์ความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี โดยรวม มีความเป็นพลเมืองดี อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านสุจริต รองลงมา คือ ด้านความเคารพ ด้านจิตสาธารณะ และด้านวินัย 2) รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี  มีองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) การสร้างความตระหนัก หรือ Good Awareness (4) กระบวนการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือ Good Workshop ขั้นที่ 2  สร้างความเป็นพลเมืองดีด้วยโครงงาน หรือ Good Project ได้แก่ การกำหนดปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา การวางแผน การดำเนินการ และการทบทวน ขั้นที่ 3 การวัดและประเมินผล หรือ Good Evaluate ขั้นที่ 4 ฉลองความสำเร็จ หรือ Good Celebrate และ (5) เงื่อนไขความสำเร็จ

References

ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์. (2561). อิทธิพลของโปรแกรมการโค้ชการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะ

ของครูผู้สอนเพื่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย). นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นภัทร์ แก้วนาค และสุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2561). การพัฒนาตนเป็นพลเมืองดี : มิติวิถีพุทธ. บทความวิชาการ.

งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 (MCU CONGRESS II).

บุญส่ง นาแสวง. (2020). การเสริมเสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีของเยาวชนตามหลักพุทธธรรมของพระ

สอนศีลธรรม. Journal of Buddhist Education and Research, 6(1), 1-15.

พงษ์ลิขิต เพชรผล, ปองสิน วิเศษศิริ และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. การบริหารห้องเรียนใน ศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริม

สร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47(1),

-250.

พรรณี ช. เจนจิต. (2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พริ้นท์.

พระครูสังฆรักษ์เอกลักษณ์ อชิโต. (2565). การพัฒนาการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนรักษาศีล 5 ด้วย 7 กิจวัตรความดี จังหวัดสมุทรสาคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), 317-329.

วินิจ ผาเจริญ. (2561). คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(1), 148-161.

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2562). 10 ปรากฎการณ์ คุณธรรม จริยธรรม ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ:บริษัท 1924 สตูดิโอ จำกัด.

สยาม อรุณศรีมรกต และยงยุทธ วัชรดุล. (2559). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(3), 1-7.

สาวภา วิชาดี. (2011). รูปแบบการเรียนของผู้เรียนในมุมมองของทฤษฎีการเรียนรู้แบบประสบการณ์.

Executive Journal, 31(1), 175-180.

หงส์ดี ศรีเสน และคณะ. (2563). บทเรียนการขับเคลื่อนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม 4 มิติตามรูปแบบ

โครงงานคุณธรรมทั้งระบบของโรงเรียนวิสุทธิรังษี จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารศาสตร์

การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(2), 15-29.

Kalaf, Khalood AbdulKareem. (2019). The family and the school and their role in implanting

good citizenship in a manner of soft power (theoretical study). Nasaq. 6 (22) : 549-577.

Saleh, Reem Yousef and Al-Zboon, Mohammad Saleem. (2020). The role of the Jordanian high

schools in deepening good citizenship among their students”. Journal of Education and

Practice, 11(6), 37-45.

Sarkadi, Sarkadi and Fadhillah, Dini. T(2020). he engagement of learning management on civic education for civic disposition building in senior high school. Journal of Social

Studies Education Research, 11(3), 134-155.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28