การยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากล
คำสำคัญ:
การยกระดับ,, นวัตกรรม,, การออกใบอนุญาตขับรถ,, มาตรฐานสากลบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากลมี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากล
2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากลและ 3) ศึกษาแนวทางการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร และบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับงานการให้บริการออกใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะของกรมการขนส่งทางบก จำนวน 20 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปแบบ
พรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากล ได้แก่ การขาดความร่วมมือ บุคลากรขาดความรู้ บรรยากาศการทำงานขององค์การไม่เอื้อต่อนวัตกรรมรูปแบบการทำงานไม่เหมาะสม ทรัพยากรการบริหารไม่เพียงพอ ผู้บริหารสนับสนุนไม่มากพอ ขาดการสร้างเสริมแรงจูงใจและการพัฒนาบุคลากรที่ต่อเนื่อง ประชาชนไม่เข้าใจในนวัตกรรม ทำให้ขาดความร่วมมือที่ดี 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากล ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจของบุคลากร การสร้างสรรค์นวัตกรรม ความร่วมมือในการใช้นวัตกรรม งบประมาณในการพัฒนานวัตกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย สภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม และการฝึกอบรมและพัฒนา
และ 3) แนวทางการยกระดับนวัตกรรมการออกใบอนุญาตขับรถสู่มาตรฐานสากล ได้แก่ องค์การต้องมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ สนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและเหมาะสมการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรมีการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือ รวมทั้งการติดตาม และประเมินผล
References
กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม: แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คหณีกา สาครวาสี. (2562). พัฒนาการการสอบใบอนุญาตขับขี่ของกรมการขนส่งทางบกระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2561. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการงานสาธารณะ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จันทนา อุดม และคณะ. (2563). การเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม. วารสารสหวิทยาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3 (1), 81-90.
นิตยา ถนอมศักดิ์ศรี. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานด้านนวัตกรรมในองค์กรการพยาบาล ตามการรับรู้ของหัวหน้างานการพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
นิติยา พงษ์พานิช. (2556). การวิเคราะห์พฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ: ศึกษา เปรียบเทียบ กรณีอำเภอเมืองและอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิศาชล ฉัตรทอง. (2561). บริบทภาครัฐไทยกับการก้าวเข้าสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บริษัท ภูริ เอสเตท จำกัด. (2563). เปรียบเทียบการเดินทางระหว่างรถส่วนตัวและรถสาธารณะ. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2565, จาก https://www.puri.co.th/เปรียบเทียบการเดินทาง/พิษณุ ศรีกระกูล, สุชาดา นันทะไชย และวิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัด ฉะเชิงเทรา. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8 (31), 131-141.
วรชัย สิงหฤกษ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9 (2), 77-90.
วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ และปรียากมล เอื้องอ้าย. (2563). การพัฒนานวัตกรรมของอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันองค์กร. Journal of Administrative and Management Innovation, 8(2), 89-100.
วัฒนชัย ศิริญาณ. (2560). องค์กรแห่งนวัตกรรม: ทางเลือกใหม่สาหรับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21. อินฟอร์ เมชั่น, 24 (2), 72-80.
ศุมรรษตรา แสนวา. (2564). การพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2561). การจัดทำแผนแม่บทการบริหารและการ พัฒนาทรัพยากร บุคคลของกรมการขนส่งทางบก
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2571 (ระยะที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สินธุ์ชัย ภมรพล. (2560). รถ กับ คน. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2565, จาก https://www.bangkokbiz news.com/blogs/columnist/116055.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2553). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร (Innovation Management for Executives (IMEs). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2564). การทำใบขับขี่ใหม่และต่อใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ต้องทำอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2565, จาก https://portal.info.go.th/private-cardriving-licence/.
อัชฌาพร จันทนะภัค. (2561). กรมการขนส่งทางบกยกระดับมาตรฐานคุณภาพผู้ขับรถเพื่อความปลอดภัย ตอบโจทย์บริการทันสมัย อำนวยความสะดวกประชาชนทุกขั้นตอน. วารสารมาตุลี จุลสารขนส่งสัมพันธ์, 5, 3.
อาร์ม ตั้งนิรันดร. (2561). อุปสรรคขัดขวางนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2565, จากhttps://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/118513.
Herkema, S. (2003). A Complex Adaptive Perspective on Learning within Innovation Projects. The Learning Organization, 10(6), 340- 346.
Hughes, O. E. (1994). Public Management and Administration: An Introduction. New York: St. Martin’ Press.
Katz, R. V. (2003). Managing Creativity and Innovation. Boston, MA: Harvard Business School Press.
Millet, J. D. (1954). Management in Public Science. New York: McGraw - Hill.
Rahman, N. A. and Ismail, N. (2018). Determinant Factors for Managing Innovation in the Malaysian Public Sector. MATEC Web of Conferences 150, 05042 (2018).
Satansuk, P. (2019). Developing an Innovation Ecosystems in the Government Electricity Generating Authority. Master of Science, Technology Management, College of Innovation Thammasat University.
Smits, R. (2002). Innovation Studies in the 21th Century: Questions from A User’s Perspective. Technological Forecasting & Social Change, 69(2), 861-883.
Tidd, J. et al. (2001). Managing Innovation. NJ: John. Wiley & Sons Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.