รูปแบบและกระบวนการบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู แบบบูรณาการเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • กมลชนก ม่วงเมืองแสน

คำสำคัญ:

รูปแบบและกระบวนการบำบัดผู้ป่วย, การบูรณาการบำบัด, การแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดกระบวนการบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูของการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์แผนไทย 2. เพื่อพัฒนาแนวคิดกระบวนการบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูของการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์แผนไทย 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบและกระบวนการบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูแบบบูรณาการเพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ และวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 45 คน และใช้การเปรียบเทียบ ความรู้ก่อนและหลังของผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม ชุดกิจกรรมและแบบประเมินก่อนและหลังการอบรม เพื่อวิเคราะห์แนวคิดกระบวนการบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูของการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์แผนไทยและนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์อุปสรรค-โอกาสการรักษาแบบบูรณาการ ผลการวิจัยพบว่า

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า การแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนทางเลือก ต่างมีจุดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะ แต่หากจะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นจะต้องมีการบูรณาการอาศัยองค์ความรู้ ที่มีการผสานความร่วมมือระหว่างการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนปัจจุบัน และความร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน โดยมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน และการเชื่อมต่อระบบงานอย่างไร้รอยต่อ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดูแลผู้ป่วย 

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า การพัฒนาแนวคิด ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบบูรณาการการแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบันเพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพ พบว่า ในประเด็น 1) การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูแบบบูรณาการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบัน 2) การสร้างความมั่นคงทางสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู 3) ความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรและสรรพคุณของยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู 4) ความรู้เกี่ยวกับอาหารตามธาตุเจ้าเรือนและการรับประทานอาหารที่เหมาะสมตามธาตุในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู 5) ความรู้เกี่ยวกับกายบริหารเพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู  โดยผล Pre-test และ Post-test มีคะแนนในภาพรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 50 และผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 35 คน มีจำนวนคะแนนเพิ่มขึ้นทุกคน โดยคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 9.88  และพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังการเข้าร่วมทำกิจกรรมตามชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นของกลุ่ม สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Sig. (2-tailed) = .000)

References

กองโรคไม่ติดต่อ, สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561 นนทบุรี, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://hss.moph.go.th › fileupload_doc_slider [3 กันยายน 2564].

เทียนทิพย์ เดียวกี่, เลี่ยง ไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดเสี่ยงมีอาการรุนแรงหากติด COVID-19, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.thaihealth.or.th [9 มิถุนายน 2564].

วัฒนีย์ ปานจินดา และพุทธวรรณ ชูเชิด, "การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลในการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมอง". Journal of MCU Nakhondhat 8.11 (2021), หน้า 112-125.

World Health Organization, Noncommunicable diseases, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.who.int/data/gho/data/themes/noncommunicable-diseases [9 มิถุนายน 2564].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-26