การพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนแบบพึ่งพาตนเองของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในเขตภาคกลางตอนล่าง 1

ผู้แต่ง

  • ธนิศร ศรีก๊กเจริญ
  • นรินทร์ สังข์รักษา
  • วรรณวีร์ บุญคุ้ม

คำสำคัญ:

การวิจัยและพัฒนา, การจัดสวัสดิการชุมชน, กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ การจัดสวัสดิการชุมชนแบบพึ่งพาตนเอง และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 2) พัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนแบบพึ่งพาตนเองของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนแบบพึ่งพาตนเองของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนแบบพึ่งพาตนเองของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในเขตภาคกลางตอนล่าง 1 ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพการณ์ และการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยคณะกรรมการและสมาชิกของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต การรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและการพัฒนารูปแบบฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้กับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหนองมะตูม ตำบลดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบทดสอบความรู้ การจัดเวทีเสวนา การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรูปแบบฯ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแนวทางการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และถอดบทเรียนด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  

         ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการณ์ คนในชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด มีการออมเงินร่วมกัน  ทำให้มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ และใช้จ่ายในยามเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วขยายผลเป็นการช่วยเหลือด้านอื่นๆ การปฏิบัติที่เป็นเลิศของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต พบว่ามาจากการที่คณะกรรมการและสมาชิกของกลุ่มฯมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  มีส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมเงิน เป็นการรวมตัวกันของชาวบ้าน เพื่อช่วยเหลือตนเอง ซึ่งกันและกัน โดยการประหยัดทรัพย์ และปลูกฝังสมาชิกกลุ่มด้วยการใช้คุณธรรม การจัดสวัสดิการชุมชนเกิดจากการออมเงิน แล้วแบ่งให้คนที่มีความต้องการเงินทุนไปประกอบอาชีพ ได้มีการนำผลกำไรของกลุ่มมาจัดสวัสดิการ โดยระบบการจัดสวัสดิการที่ดีควรให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วม โดยตกลงกติกาและใช้ร่วมกัน จากความต้องการของคนในชุมชน 2. ผลการพัฒนารูปแบบชื่อว่า “TONMAI Model” ได้แก่ 1) T - Trust (ความไว้วางใจ) 2) O - Opportunities (โอกาส) 3) N - Networking (เครือข่าย) 4) M – Management (การจัดการ) 5) A – Activity (กิจกรรม) 6) I – Impression (ความประทับใจ) ที่ผ่านการรับรองแล้ว  3. ผลการทดลองรูปแบบ ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การจัดเวทีเสวนาของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ และ 4.     ผลของการประเมินมีความพึงพอใจในภาพรวมของกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบฯอยู่ในระดับมาก และผลการถอดบทเรียน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคนในชุมชนให้มีการดำเนินชีวิต และเรียนรู้การทำงานร่วมกันในรูปแบบ“กระบวนการกลุ่ม” และใช้ “สัจจะออมทรัพย์” เป็นเครื่องมือในการสร้างวินัยการออมของสมาชิกเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชุมชน และใช้ผลกำไรของกลุ่มนำมาแบ่งปัน และช่วยเหลือกันเป็นสวัสดิการในชุมชน ดูแลตั้งแต่เกิดแก่เจ็บตาย และพัฒนาการศึกษาของคนในชุมชน รวมถึงนำเงินมาใช้ในการพัฒนาสาธารณะประโยชน์ร่วมกันของคนชุมชน รวมถึง วัด ศาสนสถานในชุมชนด้วย และสะท้อนว่า คนในชุมชนชนบทจนเงินแต่ไม่จนน้ำใจ" อยู่ร่วมกันแบบสามัคคีรักใคร่กลมเกลียว เป็นวิถีของการพึ่งพาตนเอง ให้ความช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกันของคนในชุมชน

References

กรมพัฒนาชุมชน. (2552). ความเข้มแข็งของเครือข่ายหมู่บ้าน กข.คจ. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤติญา กีรติกอบมณี. (2559). “รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการระดับเมือง”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จารึก แก้วมณี และ ไมตรี อินเตรียะ. (2564). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กรณีศึกษาบ้านนาปรัง ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม 6 (1), 80-89.

โชคชัย เดชรอด. (2564). การวิเคราะห์อัตราส่วนความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำกัด วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 3 (6), 73 -87.

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2554). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นรินทร์ สังข์รักษา. (2555). “การถอดบทเรียน: เทคนิควิธีการเรียนรู้บทเรียนเพื่อการพัฒนาชุมชน.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 9 (2), 18-33.

นิเทศ สนั่นนารี และ เดชา บัวเทศ. (2562). ความอยู่รอดของกลุ่มออมทรัพย์: รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านหนองมน อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 8 (3), 277 – 286.

ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจชุมชนทางเลือกเพื่อทางรอดสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.

สลิลทิพย์ เชียงทอง และ อินทิรา วิทยสมบูรณ์. (2552). คู่มือการดำเนินงานโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แอ๊ปป้าพริ้นติ้งกรุ๊ปจำกัด

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). (2566). ยุทธศาสตร์ชาติฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566, จาก http://nscr.nesdc.go.th/ns/

สำนักงานบริหารกองทุนพัฒนาชุมชน.กรมการพัฒนาชุมชน. (2563). ปุจฉาวิสัชนากองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งชาติ.

อภิญญา เวชยชัย และกิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2546). การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาส: กลุ่มคนจนผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเสี่ยงที่ประสบปัญหาทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Babbie, E. (2002). The basics of social research.(2nd ed.). Belmot, CA: Wadsworth.

John W. Best and James V. Kahn. (1988). Research in Education. United States of America

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28