การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาลูกเสือโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามหลักอริยสัจ 4 เพื่อพัฒนาระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : การจัดกิจกรรม, รายวิชาลูกเสือ, ระเบียบวินัย, ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาลูกเสือโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามหลักอริยสัจ 4 เพื่อพัฒนาระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาลูกเสือโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามหลักอริยสัจ 4 เพื่อพัฒนาระเบียบวินัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน วัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาลูกเสือโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามหลักอริยสัจ 4 เพื่อพัฒนาระเบียบวินัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน วัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อนำเสนอการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาลูกเสือโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามหลักอริยสัจ 4 เพื่อพัฒนาระเบียบวินัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน วัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ครูประจำโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 9 ท่าน โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ผลการวิจัยมีดังนี้
- สภาพทั่วไปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาลูกเสือโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามหลักอริยสัจ 4 เพื่อพัฒนาระเบียบวินัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ของวิชาลูกเสือเนตรนารี มี 9 อย่าง ประกอบด้วย การปฐมนิเทศ วิชาการบุกเบิก วิชาล่าม การสอนหน้าที่พลเมือง วิชาการฝึกเป็นผู้นำ วิชาการอนุรักษ์ธรรมชาติ วิชานักอุตุนิยมวิทยา วิชาพลาธิการ และการทดสอบภาคทฤษฎี
- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาลูกเสือโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามหลักอริยสัจ 4 พบว่า มีวิธีการในการแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนการคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ขั้นทุกข์ คือ ปัญหา 2) ขั้นสมุทัย คือ สาเหตุของปัญหานั้น 3) ขั้นนิโรธ คือ ทดลอง และเก็บรวบรวบรวมข้อมูล 4) ขั้นมรรค คือ ขั้นวิเคราะห์ และสรุปผล
- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาลูกเสือโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามหลักอริยสัจ 4 เพื่อพัฒนาระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า หลักปฏิบัติตามหลักของหัวใจวินัยลูกเสือเนตรนารี 9 ประการ คือ ตื่นตัว ว่องไว ก้าวหน้า ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ โหดร้ายไม่มี ทำดีเรื่อยไป การงานผ่องใส่ จิตใจสะอาด และนำพาชีวิตของตนเจริญ
References
โกศล แย้มกาญจนวัฒน์. (2552). คู่มือการจัดกิจกรรมการพัฒนาวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบต่อตนเองของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง (สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นฤมล สูนสวัสดิ์. (2558). “การตั้งเป้าหมายชีวิตและการทำงาน”. วารสารสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 14(2), 26.
พวงผกา แซ่ตัน. (2554). “การศึกษาวินัยช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนวังจันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 18” (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา
รสสุคนธ์ มกรมณี. (2565). ทฤษฎีการแก้ปัญหาและแนวปฏิบัติพื้นฐาน. สืบค้น 25 มิถุนายน 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/73287.
สุรเดช ศรีอังกูร. (2565). การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา (Root Cause Analysis) 2456). สืบค้น 25 มิถุนายน 2565, จาก https://www.slideshare.net/Suradet5r/SS450012/1.
สายฟ้า หาสีสุข. (2563). “การพัฒนาแนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 4” (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สาโรช บัวศรี. (2557). การฝึกเหตผลเชิงจริยธรรม ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สิริกร ไชยราช. (2556). “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนวังยางวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22”. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.