การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 ในรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนวัดวังเคียน จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • พระมหาธีรไนย ปริยตฺติเมธี -

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้. หลักอิทธิบาท 4. รายวิชาพระพุทธศาสนา. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 ในรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนวัดวังเคียน จังหวัดชัยนาท 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 ในรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนชุมชนวัดวังเคียน จังหวัดชัยนาท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 รายวิชาพระพุทธศาสนา และหาค่า IOC จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 30 ข้อกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 17 คน

              ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 ในรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนวัดวังเคียน จังหวัดชัยนาท พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากหลักอิทธิบาท 4 เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางชัดเจนในการจัดการเรียนรู้ แก้ปัญหาการเรียนการสอนได้ตรงประเด็นความพยายามในการร่วมกิจกรรม เอาใจใส่ในกิจกรรมนั้น รวมไปถึงตรวจสอบความผิดพลาดของตนเองให้สมบูรณ์เป็นการนำเอาหลักธรรมมาใช้
  2. ผลการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 ในรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนวัดวังเคียน จังหวัดชัยนาท ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย ()= 11.87 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 27.53  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ก่อนเรียน = 3.120 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หลังเรียน = 1.560 และผลการทดสอบค่า t-test ก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าทางสถิติที่ – 29.826 มีค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.000 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 9).

พระมหาศุภฤกษ์ สุภทฺทจารี (สีวันคำ) และคณะ. (2563). “การสอนวิชาพระพุทธศาสนาด้วยหลักอิทธิบาท 4 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์”. วารสารการสอนสังคมศึกษา, (2)1, 93-108.

พระสุวรรณา อินฺทโชโต(เหือน) และมานพ. (2563). “การใช้อิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา 10 มกราคม 1979 จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, (10)3, 97-108.

พระมหาวรพัฒน์ กิตฺติวโร (สุโข). (2561). “การจัดการเรียนรู้ วิชา พระพุทธศาสนาด้วยหลักอิทธิบาท 4 มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เขต 1” (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา)

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560-2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2563). คติพจน์. สืบค้น 29 มกราคม 2563, จาก http://www.swu.ac.th/ history.php.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04