การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 ในรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดนางลือ จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • พระปลัดอนุรักษ์ ขนฺติจิตฺโต -

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้, รายวิชาพระพุทธศาสนา, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 ในรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนวัดนางลือ จังหวัดชัยนาท  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 ในรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนวัดนางลือ จังหวัดชัยนาท  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 รายวิชาพระพุทธศาสตร์ จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ และหาค่า IOC จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และได้ค่า IOC เท่ากับ 0.99 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 30 ข้อกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 11 คน

              ผลการวิจัยพบว่า

  1. การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 มีขั้นตอนที่ชัดเจน เป็นกระบวนการที่มาประสิทธิภาพนำไปสู่กระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้ช่วยเสริมสร้าง พัฒนาผู้เรียนให้มีบทบาทในการคิดวิเคราะห์ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจกระบวนการสอนช่วยให้นักเรียนพัฒนาผู้เรียน ด้านการมีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผล ลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง นำมาซึ่งคำตอบ ผลลัพธ์อย่างมีกระบวนการเรียนรู้  และเกิดองค์ความรู้ใหม่
  2. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักอริยสัจ 4 ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน คะแนนสูงกว่าก่อนเรียน ศาสนพิธี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย ()= 12.87 / 3.181  หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 26.53/1.756   และผลการทดสอบค่า t-test ก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าทางสถิติที่ – 29.826 มีค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.000 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. (2561). พื้นฐานวิชาชีพศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82ก ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2561 ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พุทธศักราช 2561 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาลปัจจุบัน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04