ระบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพการสอนสำหรับนิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : ระบบการพัฒนา. ทักษะวิชาชีพ. การสอนสำหรับนิสิตครู. วิชาสังคมศึกษาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพการสอนสำหรับนิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อประเมินความต้องการเกี่ยวกับระบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพการสอนสำหรับนิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อพัฒนาระบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพการสอนสำหรับนิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 4) เพื่อประเมินและรับรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิของการพัฒนาระบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพการสอนสำหรับนิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ5) เพื่อนำเสนอระบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพการสอนสำหรับนิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยทำการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 17 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ นำผล การสังเคราะห์ที่ได้พัฒนาระบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพการสอนสำหรับนิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา วิเคราะหขอมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธี 6’C Technic และใช้การตรวจสอบแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological triangulation) เพื่อตรวจสอบ และยืนยันความถูกต้องของข้อมูล และดำเนินการจัดสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) จากผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 13 รูป/คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพการพัฒนาระบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพการสอนสำหรับนิสิตครู ให้สมบูรณ์ จากนั้นนำเสนอระบบที่ได้ไปประเมินยืนยันระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้วยการประเมินเฉพาะด้านประเมินความตรง (Validity) ความเที่ยง (Reliability) และการหาฉันทามติ (Consensus) ว่ามีความสมบูรณ์ในเนื้อหาสาระ คุณภาพ คุณลักษณะ คุณค่า ความเหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Connoisseurship) จำนวน 5 ท่าน และสรุปข้อค้นพบ และสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่
ผลการวิจัยมีดังนี้
1) คุณลักษณะองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพการสอนสำหรับนิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย การพัฒนาทักษะวิชาชีพการสอนสำหรับนิสิตครู คือ สภาพทั่วไปที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้เข้าไปฝึก ประกอบด้วย 1) บริบทโรงเรียน 2) หลักสูตร 3) ครูผู้สอน 4) เนื้อหาสาระ และ 5) การจัดการเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติวิชาชีพนิสิตครู คือ การเรียนรู้แก้ไขปัญหาสำหรับการฝึกปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษาใน 7 ด้าน คือ 1) ด้านการเตรียมการสอนและสื่อการสอน 2) ด้านการดำเนินการสอน 3) ด้านนักศึกษา ๔) ด้านอาจารย์นิเทศก์ 5) ด้านครูพี่เลี้ยง 6) ด้านโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 7) ด้านการวิจัยในชั้น และทักษะวิชาชีพ คือ การเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ ความชัดเจนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในงานวิจัยนี้ คือ การพัฒนาทักษะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ใน 3 ด้าน คือ 1) ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม 2) ทักษะด้านสารสนเทศ การสื่อสาร และเทคโนโลยี และ 3) ทักษะด้านชีวิตและอาชีพเข้มแข็งในจรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรม
2) ระบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพการสอนสำหรับนิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย มี 4 ประการ คือ 1) ทักษะดี หมายถึง ด้านการสอน ด้านการผลิตสื่อ ด้านการควบคุมชั้นเรียน ด้านการบรรยาย ด้านการคิดสร้างสรรค์ และด้านการปรับตัว 2) มีแผนการสอน หมายถึง มีมาตรฐานการเรียนรู้ สาระสำคัญการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ และวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ 3) สื่อสารเก่ง หมายถึง มีมนุษย์สัมพันธ์ดี เมธีแตกฉาน วาจาผ่องใส่ ใส่ใจผู้ฟัง สื่อสารตรงเป้าเข้าประเด็น และมีจรรยาบรรณดี และ 4) เด่นเทคโนโลยี หมายถึง การเรียนรู้แบบไฮบริด เทคโนโลยีจากเกม การเรียนรู้แบบไมโคร เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ และการเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัล
3) ผลประเมินและรับรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิของการพัฒนาระบบการพัฒนาทักษะวิชาชีพการสอนสำหรับนิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพิจารณาจากเกณฑ์ (Rating Scale) 5 ระดับ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมทุกด้าน เท่ากับ 5.00
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขึ้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชนันภรณ์ อารีกุล และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพเชิงพุทธบูรณาการ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พนมนคร มีราคา. (2560). ครูต้องมีลักษณะอย่างไร... ในศตวรรษที่ 21. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย. 5(2), 15-17.
วิชัย ตันศิริ. (2547). โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคต:แนวคิดสู่การปฏิรูปในพระราชบัญญัติการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาพรรณ พินลา. (2560). “แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21”. วารสารปาริชาต. 30(1), 1-16.
สโรชา คล้ายพันธุ์. (2557). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา 8(1), 42-55.
สิทธิชัย ลายเสมา. (2557). “ระบบการเรียนรู้ร่วมกันด้วยทีมเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมการเรียนแบบภควันตภาพโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานร่วมกัน” (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2548). "การพัฒนาจิตสำนึกของความเป็นพลโลกสำหรับเยาวชนตามแนวพุทธ" วารสารวิชาการ. 8(4), 48-60.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2565). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills) สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/66054/-teaartedu-teaart-teaarttea-
เอกภูมิ จันทรขันตี และคณะ. (2562). การศึกษาสภาพการจัดประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรการผลิตครู 5 ปี: รายวิชาการสังเกตและฝึกปฏิบัติงานครู. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 31(2), 150-165.
Guyton. E.. & McIntyre. D. J. (1990). Student teaching and school experiences. In W. R. Houston (Ed.). Handbook of research on teacher education. New York: Macmillan.
Ozek. Y. (2009). Overseas teaching experience: student teachers’ perspectives of teaching practicum. Procedia Social and Behavioral Sciences. 1. 2541-2545.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.