การกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมโดยหน่วยงานของรัฐ

ผู้แต่ง

  • วิภาวี คุปติมาลาธร

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์, ยุติธรรมทางสังคม, หน่วยงานของรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษายุทธศาสตร์การส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมโดยหน่วยงานของรัฐ 2) ศึกษากระบวนการการกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมโดยหน่วยงานของรัฐ และ 3) วิเคราะห์ยุทธศาสตร์และผลลัพธ์การส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมโดยหน่วยงานของรัฐ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ จำนวน 28 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการพรรณนาเชิงวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า 1. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมโดยหน่วยงานของรัฐ การสร้างความเท่าเทียมกันเสมอภาคกัน การประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเท่าเทียมกันในสังคมตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยหน่วยงานของรัฐ การลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรม 2. กระบวนการการกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมโดยหน่วยงานของรัฐ การวางแผนกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมโดยหน่วยงานของรัฐการวางแผนยุทธศาสตร์สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนจัดทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 3. วิเคราะห์ยุทธศาสตร์และผลลัพธ์การส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมโดยหน่วยงานของรัฐยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายสาธารณะลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน โดยรัฐพึงจัดให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทำให้คนมีความเท่าเทียมกัน การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มุ่งมั่น ทุ่มเท พัฒนาประเทศ เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมด้วยหลักธรรมาภิบาล หลักคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หลักการของ SDGs และการทำงานร่วมกันกับภาคส่วนต่างๆ บนพื้นฐานของการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาชน

References

บูชิตา สังข์แก้ว และคณะ. (2562). ตัวแบบการพัฒนานโยบายการจัดการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อการสร้างความยุติธรรมทางสังคมกรณีศึกษา พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตากและจังหวัดตราด. วารสารพัฒนาสังคม. 21(2).96-118.

พงษ์ธวัฒน์ บุญพิทักษ์. (2560). สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

พลเดช ปิ่นประทีป, (2 ส.ค. 62), “ความเหลื่อมล้ำทางด้านสาธารณสุข: ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ”, เนชั่นสุดสัปดาห์, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://infocenter.nationalhealth.or.th [20 มกราคม 2564].

พัชรา สินลอยมา. (2557). โครงการศึกษาวิจัยทบทวนกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและความร่วมมือในเรื่องทาง อาญาของภูมิภาคอาเซียนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.

วรพล พินิจ. (2560). บทบาทของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดกับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่ออำนวยความยุติธรรมในสังคม. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 6(2). 41-63.

สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), (2558). เรื่องวาระปฏิรูปที่ 7 : การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (แผนปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงยุติธรรม.

อัคคกร ไชยพงษ์ (และคณะ). (2560). แนวทางการพัฒนายุติธรรมชุมชนของตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น, วารสารสุทธิปริทัศน์, 32(103). 203-216.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04