การขับเคลื่อนมาตรการและแนวการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการบริหารจัดการของ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)

ผู้แต่ง

  • ณัฐ นาคเกษม
  • สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์

คำสำคัญ:

เชื้อไวรัสโควิด 19, ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, การบริหารเชิงสถานการณ์, นโยบายสาธารณะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องการขับเคลื่อนมาตรการและแนวทาง
การเฝ้าระวัง การป้องกันและบริหารจัดการของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (ศบค.) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และถอดบทเรียนในการขับเคลื่อนมาตรการและ
แนวทางการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการบริหารจัดการ ศบค. ภายใต้กรอบการอ้างอิงทางความคิดเดิม
และเพื่อมุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของกรอบการอ้างอิงทางความคิดต่อการขับเคลื่อนมาตรการและ
แนวทางการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการบริหารจัดการ ศบค. ภายหลังการแพร่ระบาดระลอกที่ 1
ของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย รวมทั้ง เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคดังกล่าว โดยการวิจัยนี้อาศัยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้ง การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัยพบว่า ศบค. มีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงทั้ง 5 ระลอกอยู่ตลอดเวลา ศบค.
ตั้งต้นสมมติฐานแนวทางด้วยองค์ความรู้ในอดีตที่ยังไม่ชัดเจนมากพอ กระทั่งเกิดการทดสอบด้วยปัญหา
และอุปสรรคต่างๆ ที่เป็นเงื่อนไขอันซับซ้อนเรื่อยมา ทั้งในเชิงการบังคับใช้และผ่อนคลายมาตรการ
กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม และชนิดของเชื้อไวรัส จนเกิดการพิจารณา ไตร่ตรอง และสะท้อนคิดเป็น
แนวทางการขับเคลื่อนมาตรการในแต่ละช่วงเวลา กระทั่งสุดท้าย ในระลอกที่ 5 ศบค. ได้ตกผลึกและ
สร้างกรอบการอ้างอิงทางความคิดสุดท้ายขึ้น โดยในมิติการขับเคลื่อนมาตรการ คือ การดำเนินวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมอย่างปกติสุข ร่วมกับการคงอยู่ของเชื้อไวรัสโควิด 19 อย่างสมดุลในระยะยาว
และในมิติการบริหารจัดการ คือ การคาดการณ์สถานการณ์และการปรับตัวขององค์กรให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ภายนอกอย่างตรงไปตรงมา นอกจากนี้ ยังพบปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนมาตรการและการบริหารจัดการทั้งหมด 13 ประเด็น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้สู่
การเปลี่ยนแปลงของ ศบค. ก็ว่าได้

References

ขวัญนภา อินปอง. (2555). การบริหารจัดการของผู้บริหารเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).

จิราพร เหล่าเจริญวงศ์. (2565). พื้นที่ระหว่างการควบคุม-ดูแล : โรงพยาบาลสนาม สภาวะฉุกเฉิน และโรคระบาด โควิด 19. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 13(2). 1-34.

ชุติกา เกียรติเรืองไกร. (2564). Bubbble and Seal : มาตรการทางเลือกขับเคลื่อนภาคการผลิตไทยยุค COVID-19 สายนโยบายการเงิน 14 ตุลาคม 2564. ธนาคารแห่งประเทศไทย. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and- publications/ articles/Article_14Oct2021.html สืบค้นเมื่อ 3 ม.ค. 66

ณัฐพล นาคพาณิชย์. (2565). บทเรียนการบริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 ของศูนย์ ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศปก.ศบค.). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2559). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง : การจัดการเรียนรู้ด้านการผลิตครู. สักทอง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.) มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 22(2). 1-11.

ไทยโพสต์. (2564). สรุปจุดเริ่มต้นโควิดระบาดรอบ 3. แหล่งที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/99304 สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 66

ธีระ วรธนารัตน์ และคณะ. (2565). การบริหารจัดการภาวะวิกฤติในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด – 19 ระลอกแรก. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 16(3). 370-389.

นภัทร ชัยธราโชติ. (2565). การบริหารจัดการภาวะวิกฤติจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน. 7(4). 278-291.

ประชาชาติธุรกิจ. (2565). เปิดสถานะโควิดระลอก 5 ปักหมุดฉีดวัคซีน เข็ม 3 ทั่วประเทศ. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/general/news-838917 สืบค้นเมื่อ 10 ก.พ. 66

ประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล และคณะ. (2565). ผลกระทบด้านสุขภาพจากสถานการณ์การระบาดของโควิด – 19 ต่อผู้มีความบกพร่องทางการเห็นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 16(2). 169 - 182.

ปิยะพงษ์ บุษบงก์. (2552). การกำหนดนโยบายสาธารณะ : กระบวนทัศน์ แนวทาง ตัวแบบ กรอบ และ เทคนิค. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

พันธุ์ศักดิ์ บูรณปรีชา. (2548). แนวความคิดการปฏิรูปกระทรวงกลาโหม เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา)

พิมพ์ชญา วุฒิฉัตร์ธนนท์. (2564). การจัดการปัญหาและการควบคุมโรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019 ของหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. รวมบทความวิจัย การศึกษาอิสระของโครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. แหล่งที่: http://www3.ru.ac.th/mpa- abstract/files/2563_1629859281_6214832060.pdf สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 66

มนทิราลัย เชิดโฉม. (2565). การวิเคราะห์เชิงรูปแบบเชิงพื้นที่ของผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ SARS-COV-2 ในแต่ละระลอกของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

รัฐบาลไทย. (2564). ดีอีเอส เผยโควิดปี 64 แพร่เชื้อลามข่าวปลอมหมวดนโยบายพุ่ง. แหล่งที่มา: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49113 สืบค้นเมื่อ 9 มี.ค. 66

รัฐบาลไทย. (2565). สธ.ชู Bubble and Seal ควบคุมโควิดในโรงงานสำเร็จ ขยายผล 2,861 แห่ง. แหล่งที่มา: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56373 สืบค้นเมื่อ 9 มี.ค. 66

วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง transformative Learning. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

องค์อร ประจันเขตต์. (2557). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง : มุมมองในการศึกษาทางการพยาบาล. วารสาร พยาบาลทหารบก. 15(3). 179-184.

อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล. (2564). โควิดระลอก 3 ผลกระทบต่อคนไทย ไม่ใช่เรื่องตลก. แหล่งที่มา:workpointTODAY. https://workpointtoday.com/impact-of-covid/ สืบค้นเมื่อ 9 มี.ค. 66

BBC NEWS ไทย. (2563). โควิด-19 : แรงงานเมียนมาตลาดกลางกุ้ง สมุทรสาครอยู่อย่างไรในพื้นที่ล็อกดาวน์. แหล่งที่มา: https://www.bbc.com/thai/thailand-55435224 สืบค้นเมื่อ 9 มี.ค. 66

BBC NEWS ไทย. (2564). โควิดภาคใต้: ยอดผู้ป่วย 4 จังหวัดชายแดน เพิ่มเป็น 20% ของทั้งประเทศกว่าสัปดาห์เตรียมระดมฉีดไฟเซอร์ 2 เข็มพื้นที่แรก. แหล่งที่มา: https://www.bbc.com/thai/thailand-58867530 สืบค้นเมื่อ 9 มี.ค. 66

Certo, Samuel C. (2000). Modern management. New Jersey: Prentice-Hall.

Dye, Thomas R. (1992). Expanding Perspectives in Policy Studies and the Policy Studies Organization. Policy Studies Journal. 20(2). 312-320.

Mezirow, J. (1991). Transformation theory and cultural context: A reply to Clark and Wilson. Adult Education Quarterly, 41(3). 188-192.

Mezirow, J. (2003). Transformative Learning as discourse. Journal of transformative Education, 1(1). 88-63.

The Active Thai PBS. (2564). ทำไมโควิด-19 "ระลอก 4" จึงน่ากังวลกว่าทุกครั้ง?. แหล่งที่มา: https://theactive.net/data/variants-of-concern-new-wave-of-the-covid19-pandemic/ สืบค้นเมื่อ 17 มี.ค. 66

The Global Change Data Lab. (2566). Coronavirus Pandemic (COVID-19). แหล่งที่มา: https://ourworldindata.org/coronavirus สืบค้นเมื่อ 10 มี.ค. 66

WorkpointTODAY. (2565). สธ.รับไทยเข้าสู่โควิดระลอก 5 แล้ว. แหล่งที่มา: https://workpointtoday.com/5wave/ สืบค้นเมื่อ 10 มี.ค. 66

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28