การปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวของเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว

ผู้แต่ง

  • ฉัตรฑริกา สุดแดน

คำสำคัญ:

มาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว, แรงจูงใจ, บ้านพักเด็กและครอบครัว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระเรื่อง การปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวของเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว กรณีศึกษาภายในหน่วยงานบ้านพักเด็กและครอบครัว 77 จังหวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว ศึกษาจากผู้ปฏิบัติงานในบ้านพักเด็กและครอบครัว รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,221 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 316 คน และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งได้รับข้อมูลแบบสอบถามกลับมาร้อยละ 100 เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ แจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีการปฏิบัติงาน โดยมีค่าคะแนนแบบสอบถามของการปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวของเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว จัดอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ดังนี้ ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวด้านบริหาร  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 แสดงว่าผู้ปฏิบัติงานมีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวด้านบริหาร อยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวด้านบริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 แสดงว่าผู้ปฏิบัติงานมีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวด้านบริการ อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวด้านคุณภาพบริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 แสดงว่าผู้ปฏิบัติงานมีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวด้านคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจภายใน ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 แสดงว่าผู้ปฏิบัติงานมีแรงจูงใจภายใน ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว อยู่ในระดับมากที่สุด และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจ ภายนอก ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 แสดงว่าผู้ปฏิบัติงานมีแรงจูงใจภายนอก ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว อยู่ในระดับมาก

References

กรรณิกา ขวัญอารีย์ และ เริงฤดี วิเสโส. (2561). [PowerPoint] .กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการเด็กและเยาวชน.

กองคุ้มครองเด็กและเยาวชน. กรมกิจการเด็กและครอบครัว. (2559). คู่มือการประเมินมาตรฐานการจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว. กรุงเทพฯ: กองคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมกิจการเด็กและเยาวชน.

กายทิพย์ เจริญรื่น. (2556). การเตรียมความพร้อมของบุคลากรในการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน

การจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เกศินี เพียรดี. (2558). ลักษณะการบริหารงานและปัญหาอุปสรรคการบริหารงานของบ้านพักเด็กและครอบครัว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

งานคุ้มครองเด็กบ้านพักเด็กและครอบครัว. (2565) กรมกิจการเด็กและเยาวชน. แหล่งที่มา https://www.dcy.go.th/content/1653038117275/1653038247085 สืบค้นเมื่อ 17 ต.ค. 2566

จุฑามาศ ศรีบำรุงเกียรติ และเขมมารี รักษ์ชูชีพ. (2555). ปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวัง ในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทท่อส่งปิโตรเลียม จํากัด แทปไลน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ชนิดา เพชรทองคำ. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 2 (จังหวัดชลบุรี) (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฐานวัฒน์ พรนิธิดลวัฒน์. (2552). ลักษณะการปฏิบัติงานและปัญหาอุปสรรคของพนักงานเจ้าหน้าที่ใน

การปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กรณีศึกษาปฏิบัติงาน

ของบ้านพักเด็กและครอบครัวทั่วประเทศ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เบญจพร กมัณฑา. (2562). ความคิดเห็นของนักสังคมสงเคราะห์ต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน

การจัดสวัสดิการบ้านพักเด็กและครอบครัว (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประพล มิลินทจินดา. (2558). ผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ของบ้านพักเด็กและครอบครัว กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ประเสริฐ อุไร. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เอจีซี ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

วิฑูรย สิมะโชคดี. (2541). คุณภาพคือความอยู่รอด.กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย - ญี่ปุ่น).

วิฑูรย สิมะโชคดี. (2545). คุณภาพคือความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย - ญี่ปุ่น).

สุรีย์ ตรึกตรอง. (2547). ปัญหาอุปสรรคในการนำพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ.2546 ไปสู่การปฏิบัติ(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรพินทร์ ชูชม, อัจฉรา สุขารมณ์ และอังศินันท์ อินทรกำแหง. (2553). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวงาน กับคุณภาพชีวิต. วารสารพฤติกรรมศาสตร์,

Millet, John D. (1954). Management in the Public Sector: The Quest for Effective Performance. New York: McGraw-Hill Book Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28