ระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียน ตลอดชีวิต สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : ระบบการสอนสังคมศึกษา. หลักอิทธิบาท 4. การเรียนตลอดชีวิต. โรงเรียนพระปริยัติธรรม.บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต 2) เพื่อประเมินความต้องการเกี่ยวกับระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต 3) เพื่อพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต 4) เพื่อประเมินและรับรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิของการพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต 5) เพื่อนำเสนอระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยทำการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 15 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ นำผล การสังเคราะห์ วิเคราะหขอมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธี 6’C Technic และใช้การตรวจสอบแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological triangulation) เพื่อตรวจสอบ และยืนยันความถูกต้องของข้อมูล และดำเนินการจัดสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) จากผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 13 รูป/คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพการพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต ให้สมบูรณ์ จากนั้นนำเสนอระบบที่ได้ไปประเมินยืนยันระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้วยการประเมินเฉพาะด้านประเมินความตรง (Validity) ความเที่ยง (Reliability) และการหาฉันทามติ (Consensus) ว่ามีความสมบูรณ์ในเนื้อหาสาระ คุณภาพ คุณลักษณะ คุณค่า ความเหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Connoisseurship) จำนวน 5 ท่าน และสรุปข้อค้นพบ และสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่
ผลการวิจัยมีดังนี้
1) คุณลักษณะองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต พบว่า องค์ประกอบที่ 1.0 บริบท (Context) คือ ระบบการสอนสังคมศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ ดังนี้ (1) ระบบการพัฒนาด้านครูผู้สอน (2) ระบบการพัฒนาด้านเนื้อหา (3) ระบบการพัฒนาด้านสื่อการสอน (4) ระบบการพัฒนาด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และ(5) ระบบการพัฒนาด้านการวัดและประเมินผลการเรียน ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 2) การปรับปรุงเป้าหมายการเรียน 3) เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล และ4) การนำเสนอผลการเรียน องค์ประกอบที่ 2.0 ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ การบูรณาการสอนตามหลักอิทธิบาท 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ มีดังนี้ (1) การสอนให้นักเรียนจักฉันทะ (ความพอใจ) (2) การสอนให้นักเรียนจักวิริยะ (ความเพียร (3) การสอนให้นักเรียนจักจิตตะ (ความคิด) (4) การสอนให้นักเรียนจักวิมังสา (ความไตร่ตรอง) องค์ประกอบที่ 3.0 กระบวนการ (Process) คือ การส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ มีตังนี้ (๑) ทักษะด้านการเรียนด้วยตนเอง (2) ทักษะการ (3) ทักษะการอยู่ร่วมกัน (4) ทักษะชีวิต (5) ทักษะอาชีพ และ(6) ทักษะด้าน และการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ มี 4 ประการ มีดังนี้ (1) ด้านสภาพแวดล้อม (2) ด้านการมีส่วนร่วม (3) ด้านการบริหารจัดการ และ(4) ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2) ระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต พบว่า องค์ประกอบที่ 4.0 ผลลัพธ์(Output) คือ แบบจำลองระบบการสอนพระปริยัติธรรมตามคุณลักษณะ 5 ประการ CHATCHAI MODEL มีดังนี้ (1) เรียนดี ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีเป้าหมายในการเรียน 2) ส่งเสริมให้นักเรียนมีเห็นคุณค่าของการเรียน และ๓) ส่งเสริมให้นักเรียนสนุกกับการเรียนสิ่งใหม่ๆ (2) กิจกรรมเด่น ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมกิจกรรมนักพูดนักเทศ 2) ส่งเสริมกิจกรรมฝึกทักษะโครงงานวิทยาศาสตร์ และ3) ส่งเสริมกิจกรรมสร้างนวัตกรรมสมัยใหม่ (3) เน้นคุณธรรม ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์สุจริต 2) ส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตอาสา และ3) ส่งเสริมให้นักเรียนอุทิศตนเพื่อส่วนรวม (4) นำวิชาการ ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น 2) ส่งเสริมให้นักเรียนวิเคราะห์เป็น และ3) ส่งเสริมให้นักเรียนแยกแยะเป็น (5) พัฒนาการอาชีพ ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะด้านภาษา 2) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะด้านการสื่อสาร และ๓) ส่งเสริมให้นักเรียนเก่งด้านเทคโนโลยี และองค์ประกอบที่ 5.0 การตรวจสอบและการปรับปรุง (Feedback) คือ นำข้อมูล แบบจำลองระบบการสอนพระปริยัติธรรมตามคุณลักษณะ 5 ประการ CHATCHAI MODEL กลับเข้า สู่ระบบเพื่อใช้ ในการปรับปรุงปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตระบบให้มีความเหมาะสมต่อไป
3) ผลประเมินและรับรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิของการพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนตลอดชีวิต โดยพิจารณาจากเกณฑ์ (Rating Scale) 5 ระดับ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมทุกด้าน เท่ากับ 5.00
References
กรมการศาสนา. (2521). เอกสารสำหรับใช้ประกอบประกอบการพิจารณาเรื่องการศึกษาของคณะสงฆ์.กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
ฐิตพัฒน์ สตางค์จันทร์. (2561). การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 343-365.
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). พฤติกรรมกลุ่ม. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
พชร แสงเพชร. (2558). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักอิทธิบาท 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 กรุงเทพมหานคร (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูพนมปรีชากร แก้วบุตตา. (2561). อนาคตภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ระหว่าง พ.ศ.2559-2573. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(3),
พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิตเมธี. (2552). การบริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี กรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระสายสิทธิ์ สิทธิโท (สารโท). (2564). แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศีกษา จังหวัดรอยเอ็ด. วารสารสังคมศาสตร์
บููรณาการ, 1(2), 1-9.
เสกสันต์ บุญยะ. (2549). การใช้อิทธิบาท 4 ในการบริหารบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมขนาดเล็ก แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 4 (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
บทความการศึกษา. (2565). การเรียนตลอดชีวิต คืออะไรและสำคัญตรงไหน แล้วเกี่ยวอะไรกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม. จาก https://www.kroobannok.com/ 54487
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.