การบริหารจัดการองค์กรไปสู่ความสำเร็จในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ณฐกร วัชรสินธุ์
  • ชุติกาญจน์ ฉลาดสกุล

คำสำคัญ:

การบริหาร, การจัดการองค์กร, ความสำเร็จ, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการองค์กรไปสู่ความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 องค์กรต้องมีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนผู้นำต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงและสร้างความท้าทายภายใต้การแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงต้องวางนโยบายด้านนวัตกรรมองค์กรอย่างเป็นระบบ นโยบายต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่อยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไป และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อนโยบายที่สำคัญขององค์กร ในขณะเดียวกันควรหลีกเหลี่ยงการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ ความสับสนระหว่างนวัตกรรมกับสิ่งแปลกใหม่ และความสับสนระหว่างกิจกรรมกับการเคลื่อนไหว แต่ทุนยังเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญเปลี่ยนแปลงเสมอ บทบาทของทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้หลายองค์กรสามารถประสบความสำเร็จได้โดยไม่ต้องมีทุน หรือสะสมทุนในจำนวนมาก ความท้าทายด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ความสำคัญต่อประเด็นสภาวะทางสังคม วิถีชีวิตของคน การเข้าถึงเทคโนโลยี ความหลากหลายและความขัดแย้งกับ ส่งผลให้ผู้นำจำเป็นต้องมีเครื่องมือสำหรับการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จที่แตกต่างจากยุคที่ผ่านมา และ การจัดการความรู้ในองค์กร การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การทำงานอย่างเป็นเครือข่าย และทำงานร่วมกับองค์กรเพื่อการเรียนรู้ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะต้องมีการนำไปใช้ สำหรับการบริหารความเสี่ยง ช่วยให้องค์กรสามารถเลือกทิศทางและกำหนดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไป

References

กิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์.(ม.ป.ป.) การบริหารจัดการหน่วยงานกับการใช้กลยุทธ์การสร้างองค์กรยุคใหม่. เอกสารอัดสำเนา กองสาธารณสุขท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. https://www.tambondonsai.go.th/datacenter/doc_download/a_151221_143737.pdf.

กุลเชษฐ์ มงคล. (2551). การจัดการการเปลี่ยนแปลง:ทางรอดขององค์กรในศตวรรษที่21. วารสารข้าราชการ. 53 (1): 84-87.

จารุวัจน์ สองเมือง. (2559). การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี. https://deepsouthwatch.org/th/node/8009

ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ (2544) การบริหารจัดการในทตวรรษที่ 21. พิมพ์ที่ เอ.อาร์. บิซิเนส เพรส, บจก.

ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2551). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มิสเตอร์ก๊อปปี้.

พสุ เดชะรินทร์. (2558) องค์กรรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพธุรกิจ. 24 พ.ย. 2558 https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/111102

พิชาภพ พันธุ์แพ. (2554). ผู้นำกับการจัดการการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตรา สีแดงก่ำ (2562). การบริหารความเสี่ยงขององค์กรในศตวรรษที่ 21. เอกสารการประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019”

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (2559). ความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 ควรศึกษาจาก “ความล้มเหลว”. 20 พฤศจิกายน 2559. https://www.it24hrs.com/2016/learn-fail-succes-21st-century/

สมคิด บางโม. (2551). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิทยพัฒน์จำกัด.

สายสุดา เตียเจริญ. (2556). Management Challenges for the 21st Century. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (2013): มกราคม - มิถุนายน 2556

อมรรัตน์ เตซะนอก, รัชนี จรุงศิรวัฒน์ และพระฮอนด้า วาทสทฺโท. (2563) การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 9 (กันยายน 2563)

Gibson, J. L., Ivancevich, J. M. ; & Donnelly, J. H. (1973). Organizations: Structure, Process, Behavior. (1st ed.). Texas: Business Publications.

Robbins, S. P. (1990). Organization theory: Structure Design and Applications. 3rd ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Robbins, S. P. (1996). Organizational Behavior: Concepts, Controversies, Applications. 7th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28