การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ปิยวัช ละคร -

คำสำคัญ:

การพัฒนาประสิทธิผล, การเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน, สิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์  2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์  และ 3. เพื่อนำเสนอการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการประยุกต์ตามหลักอปริหานิยธรรม 7 การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน

 ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ตอบว่า การผลิตบุคลากรของเทศบาลให้มีความรู้ ความสามารถ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย ปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ได้รับการยอมรับจากชุมชน จึงทำให้เทศบาลได้รับการพัฒนาต่อไป
  2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ปัจจัยการบริหารส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลได้ร้อยละ 27.6 และหลักอปริหานิยธรรม 7 ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ร้อยละ 41.7 แสดงว่าปัจจัยการบริหารและหลักอปริหานิยธรรม 7  ส่งผลร่วมกันต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์    
  3. การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ มี 2 แนวทางคือ 1.ปัจจัยการบริหาร ได้แก่ 1) บุคลากร  2) เงินทุน  3) วัสดุอุปกรณ์  4) การบริหารจัดการ และ 2.หลักอปริหานิยธรรม 7 ได้แก่ 1) ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน  2) เริ่มและเลิกประชุมอย่างพร้อมกัน  3) เทศบาลยึดหลักจริยธรรมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม  4) เทศบาลรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน  5) เทศบาลให้ความช่วยเหลือบุคลากร  6) เทศบาลและประชาชนร่วมมือกันจัดการสิ่งแวดล้อม 7) การกำหนดที่ทิ้งขยะ และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

References

โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท, 2557.

ถวิล จันทรัชนะ. การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรุงธนพัฒนา, 2534.

Gibson and Other. Organizations: Behavior, Structure, Processes. (4th ed.), Austin. TX: Business Publications, 1982.

เกษม จันทร์แก้ว.การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.

สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์. หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. , 2550.

เจริญชัย กุลวัฒนาพร.”รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ”. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐ ประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.

มนต์พิพัฒน์ เอี่ยมจรัส, “ประสิทธิผลในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ปริมณฑล”, วารสารช่อพยอม, คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ : มาหาวิทยาลัยราชภัฏมหา สารคราม, ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 , กรกฎาคม - ธันวาคม 2558.

ปิยะธิดา อภัยภักดิ์, “ประสิทธิผลในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : วิเคราะห์ กรณีการจัดการขยะของเทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร”, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559.

พระมหาสุเมฆ สมาหิโต (ทวีกุล), โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2562.

สุบัณฑิต จันทร์สว่าง. “การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมความสมานฉันท์ในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์”, พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.

ดร.อนุวัต กระสังข์ และคณะ, “การจัดการสิ่งแวดล้อมของวัดตามหลักนิเวศวิทยาเชิงพุทธบูรณาการของคณะ สงฆ์จังหวัดสระบุรี”, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทัศน์, ปีที่ 4 ฉบับที่ 2, พฤษภาคม - สิงหาคม 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01