การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มร.สส.

ผู้แต่ง

  • กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์ -

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้, ทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อเพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่เรียนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ และ 2) ทดลองใช้และตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นนักศึกษาที่เรียนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผลการวิจัย พบว่า 1) นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่ได้ คือ  แผนการสอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนุสนันทา รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ ประกอบด้วย เนื้อหาและรายละเอียดของเนื้อหา วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดและการประเมินผล 2) ผลการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่า นักศึกษามีทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมโดยภาพรวมที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 77.84 และ 3) ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่มีต่อแผนการสอน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดทั้งสองกลุ่มเรียน

References

กรองได อุณหสูต. (2554) การประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย.www.ns.mahidol.ac.th/.../ สืบค้น 20 มกราคม 2566.

ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และคณะ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2): 208 – 221.

อรพรรณ พรสีมา. (2539). รายงานการวิจัยการพัฒนาด้านการคิดและสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในโครงการนาร่องศูนย์พัฒนาอัจฉริยะภาพเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

Ergeneli, A., Gohar, R., &Temirbekova, Z. (2013). Transformational leadership: Its relationship to culture value dimensions. International Journal of Intercultural Relations, 31, 8 – 13.

Kukulska-Hulme, Agnes and Traxler, John. (2013). Design principles for mobile learning. In: Beetham, Helen and Sharpe, Rhona eds. Rethinking Pedagogy for a Digital Age: Designing for 21st Century Learning (2nd ed.). Abingdon: Routledge.

Martin, J.M. (2010) Stigma and Student Mental Health in Higher Education. Higher Education Research and Development, 29, 259-274.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04