การพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ชุติกาญจน์ ฉลาดสกุล Narongchai

คำสำคัญ:

การพัฒนาพฤติกรรม, จิตสาธารณะ, นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

บทคัดย่อ

การพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุปะสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมจิตสาธารณะ ศึกษาความต้องการพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะ และศึกษาแนวทางพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการเก็บรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจำนวน 77 คน และผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ในเรื่องพฤติกรรมจิตสาธารณะ จำนวน 5 คน

ผลการศึกษาพบว่า

ความคิดเห็นด้านพฤติกรรมจิตสาธารณะ การอ่านหนังสือที่มีในสำนักงานแล้วจะเก็บหนังสือเข้าที่เดิม มีค่าเฉลี่ยด้านพฤติกรรมจิตสาธารณะมากที่สุด (=4.844) รองลงมา คือ เมื่อใช้โทรศัพท์สาธารณะหรือโทรศัพท์ของส่วนรวม จะวางโทรศัพท์ให้อยู่ในสภาพเดิม (=4.831) ระดับความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยด้านความต้องการพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะมากที่สุด คือ เสนอโครงการเพื่อของบประมาณในการทำกิจกรรมสำหรับพัฒนาเกษตรกร (=4.455) รองลงมา คือ ทราบระเบียบการใช้ทรัพย์สินของราชการ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้สำนักงาน (=4.377)  ในขณะที่การศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ พบว่า การใช้กระดาษทั้งสองหน้าและให้นําอุปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่สามารถใช้การได้มาซ่อมแซมดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ได้ต่อไป และการเสนอโครงการเพื่อของบประมาณในการทำกิจกรรมสำหรับพัฒนาเกษตรกร เป็นพฤติกรรมจิตสาธารณะที่ ไม่มีความสัมพันธ์และไม่สอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จึงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนา

แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมจิตสาธารณะคือ 1) ปลูกจิตสํานึกในการใช้สิ่งของส่วนรวมร่วมกันและพัฒนาจิตสํานึกในการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรเพื่อให้ได้ใช้นานที่สุด 2) สร้างจิตสํานึกในหน้าที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งพัฒนาลักษณะการแสดงออกอย่างเสียสละในสถานการณ์ต่างๆ ที่จําเป็นต่อส่วนรวม และพัฒนาภาวะการเป็นผู้นําในการแก้ไขปัญหา 3) สร้างแนวคิดให้รู้จักแบ่งปัน และที่ตระหนักว่าทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับบริการที่เท่าเทียมกัน

References

ยุทธนา อุทโธ, ปรีชา คัมภีรปกรณ์, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตสาธารณะของคณะกรรมการสภานักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(2),

หฤทัย อาจปรุ. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิต และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กับการมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ.

ฉัตรฤทัย อินทุโศภน และพิพัฒน์ นนทนาธรณ. (2559). อิทธิพลของภาวะผู้นำการปฏิรูปและจิตสาธารณะที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การใน รด.จิตอาสา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3),

ไมตรี สารการ, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ธวัชชัย ไพใหล. (2557). การพัฒนาการมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านแพงวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ,2(8),

สันติพงศ์ ยมรัตน์. (2559). พัฒนารูปแบบการการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 5(1),

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โกศล มีคุณ และณรงค์ เทียมเมฆ. (2545). ผลการฝึกใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่มีจิตลักษณะและพฤติกรรมของครู.รายงานการวิจัยทุนสนับสนุนจากโครงการแม่บท. กรุงเทพ: การวิจัยและพัฒนาระบบ.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ : วิพริ้นท์.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2548). ตำราขั้นสูงเรื่องสติปัญญาและความสามารถทางการเรียนรู้การคิดเพื่อชีวิตที่ดีกว่า ทฤษฎีต้นไม้ : การวิจัยและพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พริยา นิลมาตร.(2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-24