รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะเชิงจริยธรรมของผู้บริหารยุคใหม่
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนา, คุณลักษณะเชิงจริยธรรม, ผู้บริหารยุคใหม่บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะเชิงจริยธรรมของผู้บริหารยุคใหม่”
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงจริยธรรมที่เหมาะสมผู้บริหารยุคใหม่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะเชิงจริยธรรมของผู้บริหารยุคใหม่ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะเชิงจริยธรรมของผู้บริหารยุคใหม่ การศึกษาวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 68 ราย จากแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิจัยเชิงคุณคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงวุฒิและหัวหน้าแผนก จำนวน 5 รายวิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิควิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
จากการศึกษาวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะเชิงจริยธรรมที่เหมาะสมกับผู้บริหารยุคใหม่ พบว่า เจตคติเชิงจริยธรรม ( =4.468) อยู่ในระดับมากที่สุด และจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการด้านคุณลักษณะเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารยุคใหม่ พบว่า มีความต้องการผู้บริหารแบบทำงานเป็นทีม ( =4.259) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยต้องการผู้บริหารที่เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานแสดงความคิดเห็นได้แม้เป็นความคิดเห็นที่แตกต่าง ( =4.324) ผู้บริหารที่ยอมรับความคิดเห็นที่มีเหตุผลจากการเสนอของผู้อื่น ( =4.338) อยู่ในระดับมากที่สุด และจากการศึกษาพบว่าแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะเชิงจริยธรรมของผู้บริหารยุคใหม่ คือ การพัฒนาคุณลักษณะเชิงจริยธรรมของผู้บริหารยุคใหม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเจตคติเชิงจริยธรรมในลักษณะการบริหารแบบทำงานเป็นทีม โดยยึดหลักการ SHARE (การแบ่งปัน) ในการบริหารงาน
References
ธัชชัย ชูกลิ่น (2561). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1),
ธีรพงษ์ กาญจนสกุล กัญภร เอี่ยมพญาและ นิวัตต์ น้อยมณี. (2565).คุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(84),
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
รัตนา กาญจนพันธุ์. (2560) การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 16-25.
รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. (2548). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพทั้งองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิเชียร วิทยอุดม. (2550). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด
วิภาวดี อินทร์ด้วง (2562). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วารสารบัณฑิตปริทัศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 18(1),
วิภาวดี อินทร์ด้วง, (2562). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 (ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ศัจนันท์ แก้ววงศ์ศรี, เอกรินทร์ สังข์ทอง, ผ่องศรี วาณิชศุภวงศ์ และ ชวลิต เกิดทิพย์ (2558) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยในภาคใต้ตอนล่าง. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 13(2),
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2549). ทศพิธราชธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.