การพัฒนารูปแบบการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้นำชุมชนสตรี
คำสำคัญ:
การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์, การพัฒนาทักษะการสื่อสาร, ผู้นำชุมชนสตรี, ภาคกลางตอนล่าง 1บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้นำชุมชนสตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการสื่อสารของผู้นำชุมชนสตรี ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 2) พัฒนารูปแบบการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้นำชุมชนสตรีในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 และ 3) เพื่อรับรองรูปแบบการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้นำชุมชนสตรี เป็นแนวทางการพัฒนาผู้นำและทักษะการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ของผู้นำสตรีต่อไป ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา พื้นที่ที่ศึกษาคือกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ที่ประกอบด้วย 4 จังหวัด คือ นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี ผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาคือ 1) ผู้นำชุมชนในพื้นที่ที่ศึกษาจำนวน 15 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์ 2) ผู้นำชุมชนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สําหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการสื่อสารของผู้นำชุมชนสตรีในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 โดยเฉพาะการสื่อสารในการประชุมร่วมกันเป็นกลุ่ม มีอัตราส่วนน้อยกว่าผู้นำชุมชนบุรุษอย่างชัดเจน ทั้งด้านการสื่อสารการแสดงความคิดเห็นและด้านการสื่อสารในการสอบถามข้อสงสัยในที่ประชุม พบว่าผู้นำชุมชนสตรีไม่มั่นใจในการสื่อสารและไม่กล้าพูดสื่อสาร ไม่รู้วิธีพูดสื่อสาร เกรงใจที่ประชุม
2) รูปแบบการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้นำชุมชนสตรีที่พัฒนาขึ้น คือ PAR3S Model (พา-สาม-เอส-โม-เดล) มีปัจจัยหลัก 3 ด้านคือ ปัจจัยนำเข้า (Input) ปัจจัยด้านการสื่อสาร (Process) และปัจจัยนำออก (Output) และเส้นของข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedback) โดยปัจจัยด้านการสื่อสารมีองค์ประกอบหลัก 6 ด้านคือ ด้านการสื่อสารอย่างมีหลักการ (P: Principle) ด้านการมีทัศนคติที่ดีต่อการสื่อสาร (A: Attitude) ด้านการรับรู้ผลลัพธ์และข้อมูลป้อนกลับ (R: Response and Feedback) ด้านการสื่อสารแบบมีโครงสร้าง (S: Structure) ด้านการสื่อสารแบบเป็นขั้นตอน (S: Step) และด้านการมีทักษะการสื่อสาร การใช้คำพูด (S: Skill) และองค์ประกอบย่อยภายในองค์ประกอบหลักแต่ละด้าน รวม 29 องค์ประกอบ
3) การรับรองรูปแบบการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้นำชุมชนสตรี เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะผู้นำด้านอื่นๆ ได้ผลการประเมินความเหมาะสมในการนำไปใช้โดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เลิฟ แอนด์ ลิฟ.
เกศรี วิวัฒนปฐพี. (2549). กระบวนการสร้างพลังผู้นำสตรีในวัฒนธรรมอีสาน (รายงานวิจัย). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฒาลัศมา จุลเพชร. (2548). บทบาทผู้นำสตรีในการปกครองท้องถิ่น: กรณีศึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง). กรงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงพร คำนูณวัฒน์ และคณะ. (2550). วิจัยและพัฒนาการสื่อสารสุขภาพของท้องถิ่น. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
นวลฉวี ประเสริฐสุข. (2558). สื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างสุขในครอบครัว. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จากhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/38603
ปราณี สุรสิทธิ์. (2555). รูปแบบการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ของผู้นำชุมชน ในเขตจังหวัดนนทบุรี.กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
เผด็จ โชคเรืองสกุล. (2553). คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
พรรณี จันทะศร. (2551). บทบาทกลุ่มผู้นำสตรีอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภูต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม.
พัลลภ ตันจริยภรณ์. (2543). กระบวนการพัฒนาสตรีในประเทศไทย: แนวคิดและนโยบาย.
สร้อยตระกูล อรรถมานะ. (2550). พฤติกรรมองค์การ ทฤษฎีและการประยุกต์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2563). ภาวะความเป็นผู้นำ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท.
สุพัตรา ชั้นสุวรรณ และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสตรีด้านธุรกิจเชิงพุทธบูรณาการ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สุมาลี สุวรรณกร. (2559). แนวทางการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเมืองขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
------------- . (2559) แนวทางการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเมืองขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(2).
Barnard, C.I. (1972). The function of executive. London: Oxford University.
Csikszentmihalyi, M. (2024). Society, Culture, and Person: A Systems View of Creativity. Springer.
David K. Berlo. (1960). The Process of Communication. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc.
Devito, A. (1987). Communicology: An Introduction to the study of communication. New York: Harper & Row. Publishers.
Sawyer, R. K. (2012). Explaining Creativity: The Science of Human Innovation. Oxford University Press.
Stott, K. & Walker, A. (1995). Teams Teamwork & Teambuilding. Singapore: Prentice-Hall.
Trenholm, S. and Jensen, A. (2000). Interpersonal Communication. Belmont California: Wadsworth publishing Company.
Warren G. Bennis and Robert J. Thomas. (2002). Crucibles of Leadership. Harvard business review.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.